วันจันทร์ที่ 18 ตุลาคม พ.ศ. 2564

รวมกลอนธรรมะ

 


รวมกลอนธรรมะ


🌹ตถาตา ความว่า เช่นนั้นเอง

จะบรรเลง เพลงใด ใช่เช่นเคย

อนิจจัง ทุกขัง ยังเปลี่ยนเลย

จงวางเฉย เปรยว่าเป็น เช่นนั้นเอง...เจริญพร 🙏


🌹อตัมมยตา คือหย่าขาด จากทุกสิ่ง

จิตจะทิ้ง ทุกข์สุขไว้ ไม่ให้เหลือ

อวิชชา ถูกกำหนด ลดว่านเครือ

อุปาทาน อันเหลือเฟือ จะหมดไป 🙏


🌹วิปัสสนาภาษาจิตต้องตั้งมั่น

ต้องรู้ทันอารมณ์มากระทบ

สมถกรรมฐานพึงบรรจบ

ความสงบยกอารมณ์วิปัสสนา

🙏


😱ความแก่เป็นเรื่องกาลเวลา

เดี๋ยวก็มาเดี๋ยวก็ไปใครก็รู้

อย่ามัวแต่ส่องกระจกคอยเฝ้าดู

อีกสักครู่สิ่งที่ดูจะหายเอง

..เจริญพร🙏


🌹อวิชชา..คือที่มาความไม่รู้

คือความโง่นึกว่ารู้แต่ไม่เห็น

ความฉลาดเห็นสิ่งใดต้องดูเป็น

สิ่งที่เห็นเป็นความจริงคือ..วิชชา🙏


🌹ชีวิตนี้มีขันธ์ ๕ อย่าบ้าไป

เหนือสิ่งใดไม่มีจากขันธ์ ๕

ไตรลักษณ์คือตัวจักรชักนำพา

ตามต่อมาปฏิจจสมุปบาทคือกฏเกณฑ์🙏


ปรมัตถปฏิปทา..

😱ตายก่อนตายทำไงใครช่วยชี้

คนทำดีมีหรือ?คือตายก่อน

คนตายไปในใจยังอาวรณ์

จะถอดถอนก่อนตายได้ยังไง?

🙏...เจริญพร


🌹สิ่งใดเกิดก็ด้วยเหตุกับปัจจัย

ไม่ใช่ใจทำให้สิ่งนั้นเกิด

จิตเดินตามปัญญาพาจนเเลิศ

จงเพียรเพลิดพิจารณาข้อเท็จจริง🙏

...เจริญพร


🌹มีสติรู้ทันทุกปัญหา

ด้วยปัญญาก่อเลิศเกิดเป็นผล

ครองสติทุกเวลาสำหรับตน

จะเป็นคนสนใจใฝ่ทางธรรม🙏

...เจริญพร


😱หลังความตายเราจะหายกันไปไหน?

ไปที่ใด?ถึงตรงไหน?ใคร่อยากรู้

ชาติหน้านี้มีหรือไม่?ถามหลวงปู่

ใครอยากรู้หลวงปู่ชาฯว่าดังนี้

🙏


🌹จะทำดีอย่างไร?ให้ได้ดี

ทำที่มีในใจให้พ้นทุกข์

ใช่ว่าทำยังงี้มีความสุข

ทำสนุกจนพ้นทุกข์คือทำดี🙏


🌹จะทำบุญให้ใครใส่ใจด้วย

ไม่ได้ช่วยคนตายให้ได้บุญ

แบ่ง16ได้1หน่วยช่วยเกื้อหนุน

เป็นบุญคุณส่งได้แค่ให้เปรต🙏


🌹สติมีมั่นหมายคือนายประตู

คอยรับรู้ต่อสู้ความประมาท

ระลึกได้ไม่หลงเพลินเดินก้าวพลาด

อัปปมาทจึงไม่ขาดไปจากธรรม🙏


บุพเพนิมิตการศึกษา

🌹เรียนพระธรรมนำมาเพื่อปฏิบัติ

พึงรวบรัดเด่นชัดกาลเวลา

อัปปมาธรรมเน้นย้ำการศึกษา

จงค้นคว้าตามหามรรคปฏิบัติธรรม🙏


🌹อรหันต์จะหันซ้ายหรือขวาหารู้ได้

อาจบอกใบ้แม้ตายไปคงไม่เห็น

ธรรมชาติเกิดได้ย่อมดับเป็น

ปัญญาเห็นรู้เช่นนั้นมันจึงมี

..🙏


🌹กฏแห่งกรรมจำเป็นต้องชดใช้

กำหนดให้เป็นกรรมเพราะตัณหา

การกระทำบังเกิดผลจนต่อมา

พระท่านว่าคือบรรดาวิบากกรรม🙏


🌹ธรรมะคือเรื่องของธรรมชาติ

ความสมมาตรเป็นปริศนาของมนุษย์

จะเกี่ยวข้องสัมพันธ์กันจนสุด

บริสุทธิ์อนิรุทธ์ด้วยปัญญา🙏


🌹จิตกับใจ

@นามธรรม กับ รูปธรรม คือจิตใจ

จงจำไว้ แยกต่อไป คือนาม-รูป

รูปธรรม คือใจ-กาย คล้ายควันธูป

ต้องปฏิรูป สัมพันธ์ตาม ห้ามตะเแบง


@หากจะแยก จิตกับใจ ออกจากกัน

จิตอันนั้น คือผู้คิด ประดิษฐ์แต่ง

ใจอยู่นิ่ง เพียงรับรู้ ไม่เคยแย้ง

จิตมักแกว่ง เปรียบแม่น้ำ ยามมีคลื่น


@จิตมักแต่ง จึงทำให้ ใจมันเคลื่อน

ใจจึงเปื้อน ด้วยกิเลศ มิอาจฝืน

หากไม่ปรับ จิตสะอาด ให้ใจตื่น

ยากจะคืน ความสดใส ในใจตน


@บริกรรม "พุทโธ"ให้ จิตเป็นหนึ่ง

แล้วจิตจึง ผ่อนคลาย ความสับสน

จิตตั้งมั่น อารมณ์เดียว ไม่อับจน

ใจจึงพ้น พบความใส ใหม่ดังเดิม

...เจริญในธรรม..สาธุ

🙏

ป.ล. สรุปจาก "เรื่องเล่า อาจารย์เทสก์"

ในมติชนสุดสัปดาห์  7-13 ม.ค. 2554


🌹ชีวิตนี้มีอยู่เพื่อเดินทาง ต้องสะสางหนทางการเรียนรู้

ศึกษาพระธรรมนำไว้ให้เป็นครู เพื่อมุ่งสู่สุดท้ายปลายทาง..วิมุตติ🙏


🌹เสียงขลุ่ยกลับมาหากอไผ่

สงบจิตปิดใจให้เว้นว่าง

ธรรมะจะให้เกิดความสว่าง

เห็นหนทางหมายสุด..วิมุตติ🙏


🌹จงทำงานทุกชนิดด้วยจิตว่าง

ตามหนทางการงานของชีวิต

จิตปล่อยวางทุกอย่างห้ามยึดติด

คือความคิดเกาะติดการทำงาน🙏


🌹เชื่อฉันหรือเชื่อใครบรรลัยหมด

พุทธพจน์กำหนดอย่าเชื่อใคร

กาลามสูตรจึงเกิดขึ้นในทันใด

พึงสงสัยคำสอนใดให้ทบทวน🙏


🌹เห็นแก่ตัวมั่วแต่ตนจนป่นปี้

เห็นตนดีกว่าคนอื่นเป็นหมื่นเท่า

ไม่เผื่อแผ่ให้คนอื่นคอยเฝ้าเอา

เลยมัวเมาเอาแต่ความเห็นแก่ตัว🙏


#เต่าหินตาบอด


#คนพูด...🙉


โอ้ เต่าเอ๋ย ขอถาม ความสักอย่าง

ดูท่าทาง ของเต่า เรานึกขำ

ตัวเป็นหิน ตาก็บอด ยอดเวรกรรม

มีพระธรรม อยู่บนหลัง ยังไม่รู้.

.


#ที่นี้เต่าก็ตอบว่า...🐌


มนุษย์เอ๋ย! เราจะบอก กรอกหูเจ้า

ตัวเราเอง แหละคือธรรม ตำตาอยู่

ธรรมของเจ้า คือตำรา บ้าพอดู

ธรรมของตู คือตัวตู อยู่ที่ธรรม


ที่เป็นหิน หมายถึงเย็น อย่างนิพพาน

เพราะประหาร อวิชชา ไยว่าขำ

ความหนวกบอด ยอดสงบ ลบล้างกรรม

เป็นความว่าง มีประจำ อยู่ร่ำไป


อันตำรา นั้นมิใช่ พระธรรมเลย

คิดดูเถิด คนเอ๋ย อย่าไถล

จะมีธรรม กันบ้าง ช่างกระไร

คว้าเอาไว้ แต่คัมภีร์ ดีนักแลฯ.


.🙏

#พุทธทาสภิกขุ


Wisdom



บทสรุป..เรื่อง ปัญญา


(อภิปรัชญาเกี่ยวกับความรู้ของมนุษย์)


 


จาก “ปัญญา” ..จุดกำเนิดและกระบวนการพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์ชาติ โดย สมัคร บุราวาศ, ๒๕๒๐


ปัญญา ..เป็นการสร้าง (ทางทฤษฎีของท่าน) จากสัจจธรรม ที่ได้จากปรัชญาต่างๆ เช่น..


-ปรัชญาเถรวาทของพระพุทธเจ้า


-สสารนิยมแบบกลไกของฮ๊อบส์


-Empiricism ของ Locke


-จิตนิยมของ Schelling และ Hegel


-ปรัชญาความเปลี่ยนแปลงของ Bergson, Engels และ Darwin


-ประวัติสากลโลกของ Spencer และ H.G. Wells กับ J. Nehru


-หลักวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ เช่น เมคานิคส์, ฟิสิกส์, เคมี, ดาราศาสตร์, ชีววิทยา, ธรณีวิทยา, และฟิสิกส์ปรมาณูแห่งสมัยปัจจุบัน


ปัญญา ครอบคลุมวิทยาการทั้งหลายที่เป็นวิทยาศาสตร์ เช่น


-หลักที่ว่า “สิ่งที่มี” อันเป็นรากฐานของสสาร ..สสารนิยมแบบกลไกของฮ๊อบส์ ที่ว่า …สสารเคลื่อนไหวไม่หยุดนิ่ง …


-จากเมคานิคส์และทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ ว่า ..ด้วยหลักของการเปลี่ยนแปลงของสสาร


-จากพุทธศาสนา และ Bergson, Schelling และ Hegel ..ว่าด้วย สรรพสิ่งเกี่ยวข้องกันหมด มันมีการเปลี่ยนแปลงในทำนองปริมาณให้กำเนิดคุณภาพ และพัฒนาการของสสาร เกิดจากการประนอมเนื้อของความขัดแย้งและภายในเนื้อของมัน


-ดาร์วินให้หลักวิวัฒนาการที่ว่า ..สรรพสิ่งจะวิวัฒน์จากสิ่งต่ำไปหาสิ่งที่สูงกว่า


-พระพุทธเจ้าทรงสอนหลักอนัตตาที่ว่า.. ไม่มีตัวตนใดเป็นเอก-โดดเดี่ยวโดยตัวเอง และจะเปลี่ยนแปลงโดยผ่านการเกิด-เจริญ-เสื่อม และดับสูญเป็นวงเวียนสังสารวัฏ


-Locke สอนหลักภววิทยา(Ontology)เรื่อง …ความรู้ได้มาทางผัสสะ


-หลักเบญจขันธ์ของพุทธศาสนาได้ให้ความสว่างในเรื่องความคิดมนุษย์


-Diderot ให้หลักการเปลี่ยนแปลงของความนึกคิดมนุษย์ และคำสอนเรื่องกำเนิดของจิตจากสสาร


-Spencer ให้หลักการวิวัฒน์จากสิ่งง่ายและดั้งเดิมไปสู่สิ่งที่ซับซ้อนยิ่งขึ้นเป็นลำดับ


-H.G. Wells เขียนเรื่อง Out-line of History ได้ให้ข้อเท็จจริงที่เกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของมนุษย์โบราณ สำหรับการเขียนวิวัฒนาการของจิตและภววิสัยส่วนประวัติศาสตร์


วิทยาศาสตร์ธรรมชาติ (Natural Science) ศึกษาสรรพสิ่ง มีฐานเป็นสสาร และศึกษาวิวัฒนาการของสสาร แต่วิทยาศาสตร์สังคม (Human Science) ศึกษาความสัมพันธ์และพัฒนาการกับวิวัฒนาการของความสัมพันธ์ระหว่างมนุษย์โดยเฉพาะ วิทยาศาสตร์ใหญ่สองสาขานี้ รวมเป็นปัญญาแห่งมนุษย์ชาติ (The Human Intellect)


วิทยาศาสตร์สังคม ไม่ได้หมายเพียงสังคมวิทยา (Sociology) เท่านั้น หากหมายรวมถึง มนุษย์วิทยา (Anthropology) ชาติวงศ์วิทยา (Ethnology) ภูมิศาสตร์ (Geolography) ประวัติศาสตร์ (History) ศาสนวิทยา ) (Theology) ปรัชญา (Philosophy) การเมือง เศรษฐศาสตร์ จิตวิทยา นิติศาสตร์ รัฐศาสตร์ วรรณคดีและศิลปะ …ไอน์สไตน์กล่าวว่า วิธีแก้โลกให้ได้ดี มีสันติสุข อย่างที่ทุกคนปรารถนาพึงมีได้จากวิทยาศาสตร์สังคม


ปัญญา.. คือ หลักวิทยาศาสตร์ที่กว้างขวางที่สุด หมายรวมความรู้ทั้งวิทยาศาสตร์ธรรมชาติ และวิทยาศาสตร์สังคม ..คือ ความรอบรู้ในสรรพสิ่งทั้งหลายและปรากฏการณ์ของมัน


ผลของปัญญา …คือ ปรีชาญาณ (Wisdom) ..ความรอบรู้.. แต่ในการประกอบการงานนั้น เป็นปัญญาแคบๆ ไม่อาจทำให้เข้าใจโลกได้ดี ไม่ช่วยอบรมจิตใจให้เข้าใจโลกอย่างถี่ถ้วน ส่วนให้เรารู้เพียงสิ่งแคบๆจำนวนมากเท่านั้น


ปัญญา ….ชักนำให้เราศึกษาหาความจริงเป็นประการแรกว่า ความรู้คืออะไร ความรู้เกิดขึ้นอย่างไร ความรู้ผิดถูกอย่างไร นี้เราเรียกว่าปัญญาส่วนญาณวิทยา (Epistemology)


ปัญญา หรือความรอบรู้ชักนำให้เราตอบปัญหาปรัชญาที่สำคัญๆ ว่าด้วยความมีอยู่ของสรรพสิ่ง (Ontology) ..เรียกว่าเป็นภววิทยาก็ได้ ปัญหาเช่นความมีอยู่เป็นอย่างไร สรรพสิ่งและปรากฏการณ์มีอยู่อย่างไร-เพียงไร? สิ่งที่ไม่มีเป็นอย่างไร? ความเท็จเป็นอย่างไร? สิ่งใดมีอยู่-สิ่งใดไม่มีอยู่-รู้ได้อย่างไร? มีสิ่งศักดิ์สิทธิ์และเทพเจ้าหรือไม่?


ถัดจากภววิทยาก็คือ.. คุณวิทยา (Axiology) หรือวิทยาอักซิโอ ว่าด้วยคุณค่าของสรรพสิ่ง แบ่งออกเป็นสองประเภทคือ ความงาม (Beauty) กับศีลธรรม (Morality) ปรัชญาโบราณเกี่ยวกับความงามเรียกว่า สุนทรียศาสตร์ (Aesthetics) และว่าด้วยศีลธรรมเรียกว่า จริยศาสตร์ (Ethics) …เพราะความงามและศีลธรรม เป็นมติมนุษย์ซึ่งเปลี่ยนแปลงได้ตามกาลสมัย ไม่ใช่สิ่งคงที่หรือมีมาแล้วแต่เดิม จึงไม่เรียกว่า ความจริงสมบูรณ์


ปัญญา เป็นภววิทยาใหม่ ซึ่งกล่าวถึงสิ่งที่เคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง กล่าวถึงได้เพียงส่วนประวัติศาสตร์ ..วิวัฒนาการของการรับรู้และความรู้-วิวัฒนาการของปัญญาแทน เมื่อทราบแนวโน้มของความนึกคิดในขณะนั้นแล้ว ..ก็จะให้ทฤษฎีเกี่ยวกับธรรมชาติของความนึกคิดในอนาคตด้วย เท่ากับให้ทฤษฎีทางสุนทรียศาสตร์และจริยศาสตร์อันถูกต้องที่มนุษย์จะยอมรับในอนาคตนั้นจะเป็นอย่างไรนั่นเอง


ปัญญา ..คือ ปรัชญาวิทยาศาสตร์


ปรัชญาแตกต่างจากวิทยาศาสตร์ คือ..


วิทยาศาสตร์จำเป็นต้องหาข้อเท็จจริง ปรัชญาไม่จำเป็นต้องค้นหาข้อเท็จจริง หากแต่ยอมรับข้อเท็จจริงที่วิทยาศาสตร์หาไว้แล้ว เพื่อไปก่อรูปความคิด …วิทยาศาสตร์มุ่งหาความรู้ที่แคบๆ แต่ปรัชญามุ่งหาหลักที่กว้างที่ครอบงำความรู้แคบๆทั้งปวง …วิทยาศาสตร์ตั้งทฤษฎีแล้วพยายามทดสอบว่าเป็นจริง แต่ปรัชญาตั้งทฤษฎีแล้วไม่สนใจอะไรกับการทดสอบ หากแต่ระวังทางเหตุผลให้ปรัชญาทั้งระบบมีคำสอนเข้ากันได้ดีทางตรรกวิทยาเท่านั้น


วิทยาศาสตร์เข้าถึงสัจจธรรมได้ใกล้กว่าปรัชญา เพราะทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ ผ่านการตรวจสอบความเป็นจริงจากการทดลอง ..ความรู้ทางวิทยาศาสตร์ได้แต่เพิ่มพูนหาได้มีการเปลี่ยนแปลงเช่นปรัชญาไม่ ยกเว้นในกรณีฉกรรจ์การเปลี่ยนแปลงทางทฤษฎีเท่านั้น ทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์จึงเป็นปรัชญาวิทยาศาสตร์นั่นเอง เปลี่ยนไปตามกาลสมัย


ปัญญา เป็นทฤษฎีอย่างกว้างที่สุด เชื่อมโยงข้อเท็จจริงของวิทยาศาสตร์ธรรมชาติและวิทยาศาสตร์สังคมเข้าด้วยกันทั้งหมด


ญาณ ..แปลว่า ความรู้ ปัญหาของญาณวิทยา (Epistemology) คือศึกษาว่า ความรู้มนุษย์มาจากไหน ธรรมชาติเป็นอย่างไร ผิดถูกอย่างไร เปลี่ยนแปลงไปได้อย่างไร


ความรู้ได้จากจากการสัมผัส (เฉยๆ) +ความนึกคิด+สังเกตพิจารณา ความคิดเป็นเครื่องมือสร้างปัญญาทางผัสสะ ไม่ใช่ต้นกำเนิด เราไม่ได้รู้ด้วยการคิด ……..


 


ประเภทการรับรู้ ..คือ (ตามแผนผัง ..ที่ ๑)




การคืบไปของความรู้ ….คือ (ตามแผนผัง ..ที่๒)




การนึกคิดประเภทเพทนาการ (เสกสรรค์ปั้นแต่งขึ้นตามอารมณ์) ..คือ (ตามแผนผัง ..ที่ ๓)




ความรู้ได้จากการคิดและจินตนาการ ….คือ (ตามแผนผัง ..ที่ ๔)


(จินตนาการ เป็นการรวมมโนภาพเอามาประติดประต่อให้เป็นเรื่องราว)




การสังเกตพิจารณา (Observation with Discrimination) …คือ (ตามแผนผัง ..ที่ ๕)




ทฤษฎี “ปัญญา” ..มีเรื่องเกี่ยวข้องกันดังนี้


-ยอมรับสามัญสำนึกคือปรัชญาของของสามัญชน (Popular Philosophy) ในหลักญาณวิทยาที่ว่า.. สิบปากว่าไม่เท่าตาเห็น และ สิบตาเห็นไม่เท่ามือคลำ


-สิ่งที่มี คือสิ่งซึ่งเมื่อกระทบกับร่างกายเราแล้ว จะก่อให้เกิดกายสัมผัสขึ้น มันคือสิ่งที่มีเนื้อที่มีมวลมีน้ำหนักเป็นสสารนั่นเอง


-มนุษย์สร้างคำๆหนึ่งขึ้นแทนสิ่งมี หรือปรากฏการณ์ที่มี.. คำนามแทนสิ่งที่มีอย่างใดอย่างหนึ่ง.. คำกริยาแทนการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของมัน.. คำคุณศัพท์และคำวิเศษณ์แทนอาการอยู่นิ่งและถาวรไม่เปลี่ยนแปลง เห็นคุณภาพและปริมาณ.. คำสันธานแทนความเกี่ยวข้องระหว่างสรรพสิ่งหรือปรากฏการณ์.. การมีคำพูดเป็นประโยคสามส่วน คือมีประธาน, กริยา, กรรม แสดงเห็นการกระทำของเหตุต่อผล


-สรุปปรัชญาสามัญชน (Popular Philosophy) ที่เกี่ยวกับภาษาหรือไวยากรณ์.. มีดังนี้


สิ่ง.. ซึ่งเป็นรากฐานของการมีอยู่คือ สสารอันรู้ด้วยกายสัมผัสและสัมผัสอื่นๆ

สสารแสดงการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง และอยู่นิ่งถาวรตามหลักเม็คคานิคส์ของนิวตัน

สสารแสดงคุณภาพและปริมาณ และการเคลื่อนไหวก็แสดงปริมาณและคุณภาพให้เราเห็น ส่วนการเปลี่ยนแปลงนั้นอยู่คุณภาพและปริมาณการเคลื่อนไหวของมัน บางครั้งเราพบการเปลี่ยนแปลงปริมาณของสสารแลัคุณภาพของการเคลื่อนไหวด้วย

มีความเกี่ยวพันระหว่างสสารด้วยกันเอง ระหว่างสสารและปรากฏการณ์ และระหว่างปรากฏการณ์ด้วยกันเอง และมีการเกี่ยวข้องระหว่างเหตุกับผล

นอกจากสสาร ยังมีสิ่งมีอีกอย่างหนึ่งคือ จิต วิทยาศาสตร์ถือว่าจิตเป็นสิ่งมีเมื่อมีร่างกาย จิตคนตายวิทยาศาสตร์ถือว่าไม่มี จิตวิทยาจึงเป็นวิชาว่าด้วยคนเป็นไม่กล่าวถึงคนตายเลย

ปัญญา… ก้าวหน้าจากปรัชญาสามัญชนเพราะทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ ..สร้างขึ้นจากหลักวิทยาศาสตร์หลังทฤษฎีสัมพัทธ์ของไอน์สไตน์ ..มีความก้าวหน้าดังนี้


-สสารและปรากฏการณ์ (การเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงของมัน) เป็นเรื่องเดียวกัน ..สสารซึ่งเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงเป็นรากฐานแห่งความมีอยู่ทั้งปวง


-คุณภาพและปริมาณเป็นการแสดงตัวอย่างหนึ่งของสสาร กล่าวคือ สสารที่ไร้คุณภาพและปริมาณไม่มี หรือการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลงโดยปราศจากคุณภาพและปริมาณก็ย่อมไม่มีด้วย กล่าวโดยรวมคือ ..สสารซึ่งแสดงคุณภาพและปริมาณ และซึ่งมีการเคลื่อนไหวและเปลี่ยนแปลง เป็นรากฐานของความมีอยู่ทั้งปวง


-สสารและปรากฏการณ์นอกจากเกี่ยวข้องกันแล้ว ยังยึดโยงเข้าเป็นหนึ่ง คือเอกภพหรือสากลโลก ฉะนั้น สากลโลกจึงเป็นหนึ่งเดียวและเปลี่ยนแปลงไปตามสสารอันเป็นเนื้อในของมัน


-นอกจากสสารหนึ่งเป็นเหตุของอีกสสารแล้ว ..การเปลี่ยนแปลงปริมาณเรื่อยๆของสสารหนึ่ง จะก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางคุณภาพแบบก้าวกระโดดขึ้นในสสารนั้นเอง การเปลี่ยนแปลงนี้จะเกิดขึ้นในสสารก้อนที่สองบางฐานเป็นผล ..ปริมาณจะค่อยๆเพิ่มขึ้นหรือลดลงที่ละน้อยๆ แต่คุณภาพจะคงเดิมอยู่ จนปริมาณขึ้นถึงจุดเปลี่ยนฉับพลันหรือจุดก้าวกระโดด คุณภาพใหม่จึงเกิดขึ้นจากคุณภาพเก่าโดยทันที คุณภาพจะไม่เปลี่ยนแปลงที่ละน้อยอย่างปริมาณเลย และคุณภาพใหม่นี้ก็จะมีอัตราการการเพิ่มลดปริมาณเสียใหม่ด้วย


-สรรพสิ่งพัฒนาไปเพราะเกิดความขัดแย้งขึ้นระหว่างมันกับสิ่งภายนอก


-จิต เป็นปรากฏการณ์ในสมอง อันเป็นที่สุดของวิวัฒนาการของโปรตีนซึ่งเป็นสสาร ถ้าไม่มีสสารในแบบรูปมันสมองก็จะไม่เกิดปรากฏการณ์ที่เราเรียกว่าจิต ..ไม่ตั้งเจตจำนงได้อย่างอิสระ ..การรับรู้เกิดจากการกระทบของสิ่งนอกกายกับอวัยวะผัสสะ แล้วจึงเกิดมโนภาพสะท้อนขึ้นในสมอง มโนภาพไม่ได้เกิดจากความว่างเปล่า ความคิด..คือ การนึกถึงมโนภาพเก่าๆแต่เดิม แล้วเอามารวมปรุงแต่งจนเกิดมโนภาพรวมอย่างใหม่ ..มีโลกภายนอกเป็นต้นเหตุและกำหนดเจตจำนงอยู่ เจตจำนง (Will) เป็นเหตุให้เกิดการกระทำกรรม ..สั่งการให้ร่างกายเคลื่อนไหวเพื่อกระทำสิ่งที่ปรารถนา ไม่ใช่ต้นเหตุใหญ่ของการกระทำ โลกภายนอกคือต้นเหตุใหญ่ที่ก่อเจตจำนงขึ้นนั้นเอง


-จิต มีอำนาจในการสร้างสรรค์มโนภาพรวมอย่างใหม่ขึ้นมาจากมโนภาพเดิมได้ แต่ไม่ได้สร้างมโนภาพขึ้นมาจากความว่างเปล่าของจิต


-สสารเป็นเหตุการบังเกิดของจิตและเป็นเหตุแห่งพฤติกรรมทางจิต ไม่มีร่างกาย ไม่มีสมอง ก็จะไม่มีจิต ไม่มีโลกภายนอกสำหรับก่อให้เกิดมโนภาพ ก็จะไม่มีพฤติกรรมของจิต


-ปัญญาเป็นสสารนิยมและเอกนิยม (Monism) โดยสิ้นเชิง ไม่ใช่ปรัชญาสามัญชนซึ่งเป็นสสารนิยมและจิตนิยม อันมีแนวไปในทางทวินิยม (Dualism) คงความขัดแย้งขึ้นเองเป็นการภายใน


ความรู้ที่ได้จากการคิด


-เราได้ความรู้จากการรับรู้ทางผัสสะก่อน สะสมเป็นมโนภาพเก็บไว้ในความทรงจำ แล้วจึงได้ความรู้จากการคิด นึกจากมโนภาพ(ที่มีสิ่งภายนอกเป็นต้นเหตุ)นั้นต่อไป


-ระหว่างที่นึกถึงมโนภาพนั้น จิตจะทำหน้าที่พิจารณาราวกับว่ามันสัมผัสมโนภาพนี้โดยตรง ..ทางพุทธศาสนาถือเป็นสัมผัสที่หกคือสัมผัสโดยใจ ความรู้ที่เกิดเรียกว่ามโนวิญญาณ ..ทางจิตวิทยาถือเป็นจินตนาการธรรมดา


-การนึกมโนภาพขึ้นมาใคร่ครวญ คือปรากฏการของจิต (พฤติกรรมของจิต ..เจตสิก ..Soul) หมายถึง การคิด (จินต์ มีความหมายว่า คิด ) เช่นเดียวกับจินตนาการ แปลว่าอาการที่คิด


-จิต แปลว่า คิดอย่างง่ายๆ วิญญาณ แปลว่าการรับรู้หรือการรู้ผัสสะ มโนภาพ ในทางพุทธศาสนาหมายถึงธรรมชาติอย่างหนึ่งที่รู้สึกและรู้คิด


-ขณะที่ใคร่ครวญมโนภาพ ถ้าชัง ก็จะทิ้งไปแล้วเปลี่ยนหรือเลือกมโนภาพใหม่ แต่..ถ้าชอบ ก็จะยืดเยื้อช้านาน เกิดอารมณ์ชวนปรารถนาหรือตัณหาขึ้น ชวนให้นึกถึงมโนภาพซ้ำๆซากๆ


-การเสวยอารมณ์สุข, ทุกข์ วนเวียนอยู่นี้ ได้แก่อาการคิดฝัน (ฝันในเวลานอน) หรือจินตนาการ เป็นต้นเหตุของตัณหาอย่างหนึ่ง ก่อให้เกิดการกระทำกรรม ผลักดันให้ไปสัมผัสโลกจริงๆอีก แล้วรับความประทับใจ(ตรึงตรา)ทั้งชอบและชังซ้ำของเดิมคืนมาอีกครั้ง


-การนึกมโนภาพมักเกิดหลายมโนภาพรวมกัน เกิดเป็นมโนภาพใหม่เคียงคู่เป็นเหตุเป็นผลกันก็ได้ ..นี่เป็นจินตนาการเฉพาะเรื่องที่ต้องการใคร่ครวญหรือคิด …ทำให้ได้สมมติฐาน เมื่อได้รับการทดสอบตามข้อเท็จจริงซ้ำๆก็กลายเป็นกฏหรือทฤษฎีทางวิทยาศาสตร์ได้


-จินตนาการ จึงไม่ได้หมายรวมการนึกมโนภาพขึ้นในสมองเฉยๆ หากรวมถึงเอามโนภาพไปเกี่ยวข้องกันและกันด้วย ในสองลักษณะคือ เกี่ยวข้องฐานเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน และเกี่ยวข้องทางเนื้อหา


-ในแง่พุทธศาสนา โลกประกอบด้วยความมีอยู่ (Existance) ๕ ประการคือ รูป, เวทนา, สัญญา, สังขาร, และวิญญาณ


รูป คือ …ดิน น้ำ ลม และอากาศ (ไฟ)


วิญญาณ คือ …การรับรู้ทางผัสสะ


สัญญา คือ …ความทรงจำที่รวมการนึกมโนภาพไว้ด้วย


เวทนา คือ …อารมณ์สุขทุกข์จากการพิจารณามโนภาพ


สังขาร คือ …อำนาจการรังสรรค์ (ปรุงแต่ง) ของจิต …หรือจินตนาการ


-ความรู้ที่เป็นเท็จ คือสิ่งที่ได้จากความคิด หรือการนึกถึงมโนภาพที่เคยรับรู้จากการสัมผัสมาก่อนแล้วเอาไปรวมกับมโนภาพที่ไม่เคยทราบความเกี่ยวข้องกันมาก่อน มาทึกทักเอาว่าเป็นเหตุเป็นผลแก่กัน


-ในขณะเดียวกัน จินตนาการ ที่เอามโนภาพมาเกี่ยวข้องกันทางเนื้อหา คือการคิดวิเคราะห์และสังเคราะห์ ส่วนการคิดวิเคราะห์เป็นการฉีกแยกมโนภาพออกเป็นเสี่ยงๆ การคิดสังเคราะห์ได้แก่การเอามโนภาพทั้งหมด หรือส่วนหนึ่งส่วนใดมาประกอบกันเข้าในมโนภาพใหม่ (เป็นสังขาร) เป็นผลการรังสรรค์ที่ได้รับจากทางผัสสะมาก่อน เป็นทั้งความรู้จริงและความรู้เท็จ


-จินตนาการที่จิตรังสรรค์ขึ้นจากมโนภาพปลีกย่อยที่มีจริง แต่เมื่อนำมาประกอบกันอาจเป็นมโนภาพใหม่ที่ไม่จริงได้ เช่นรูปปั้นสฟิงซ์ พระคเณศวร์หัวช้าง และนางเงือก เป็นต้น จินตนาการสังเคราะห์ขั้นผสมผสานขั้นสูง (ไม่ใช่การประติดประต่อมโนภาพธรรมดา) เช่นในวิชาเคมี บางทีก็สร้างสารสังเคราะห์ขึ้นมาใหม่ และเมื่อผ่านการดำเนินทางกฏเกณฑ์ของวิทยาศาสตร์ ก็สามารถรังสรรค์มโนภาพที่เป็นไปได้ขึ้น


-จินตนาการแบบเรียงมโนภาพตามกาล (เช่นงานวรรณคดี นวนิยายหรือประวัติศาสตร์) และจินตนาการแบบสังเคราะห์ บางทีเรียกว่า จินตภาพ (Image.. Idea or Conception) มีทั้งมโนภาพเดี่ยวๆ หรือมโนภาพหลายมโนภาพที่เกี่ยวข้องกัน หรือเกิดเรียงกันตามกาลเป็นเรื่องราวหรือเหตุการณ์ (Event)


เกี่ยวกับความคิด


-นักคิดผู้เขวออกจากสัจจธรรม มักเชี่ยวชาญในการใช้ความคิดแต่ขาดการแสวงหาข้อเท็จจริง หรือสาระวนกับปัญหาที่เปล่าประโยชน์ เปรียบเหมือนคนตาบอดซึ่งคิดว่ามีแมวดำในห้องมืด แล้วไปเที่ยวคลำหาโดยเปล่าประโยชน์นั้นเอง


-ตรงกันข้าม ผู้ที่ยังไม่รู้อะไร เต็มไปด้วยอวิชชา สามารถรับสัจจธรรมได้ง่ายกว่าปราชญ์ ซึ่งมักหลงทางและหลอกลวงตัวเองอยู่ตลอดเวลาก็ได้


-สัจจธรรมเผยออกมาเพราะมันเป็นสิ่งที่ไม่มีผู้ใดอาจแย้งให้เป็นอื่นไปได้ ..ซอเครตีสและพระพุทธเจ้าก็ชอบสอนสานุศิษย์ด้วยวิธีอภิปรายโต้แย้ง (Dialectics) การอภิปรายโต้แย้งระหว่างอาจารย์กับศิษย์นั้นดีอยู่ แต่ระหว่างคนมีทิฐิ มีปัญญาเสมอกันแล้ว จะไม่มีการลงเอยกันได้เลย


การคิดหรือวิธีคิด


การคิดโดยจินตนาการ การวิเคราะห์และสังเคราะห์มโนภาพ

การคิดแบบอภิปรายโต้แย้ง (Dialectics) ..thesis-anti thesis-synthesis

การคิดด้วยสัญลักษณ์หรือเครื่องหมาย (Symbol & Sign) …เช่นการคิดทางคณิตศาสตร์

การคิดให้เข้าหลัก (Induction ..Inductive Reasoning) ..คือถอดหลักออกจากข้อเท็จจริง ..เป็นวิธีคิดสร้างหลักหรือทฤษฎีขึ้นมาจากข้อเท็จจริงที่รับรู้มาทางผัสสะ

และการคิดออกจากหลัก (Deduction ..Deductive Reasoning) …คือการคิดข้อเท็จจริงขึ้นจากหลัก หรือเก็งข้อเท็จจริง (Speculation) โดยคิดอนุมาน (Infer) ไปจากหลักที่ได้มา

การคิดคืบไปจากทฤษฎี, การอนุมาน (Inference) ..การเอาผลทางทฤษฎีที่ทดสอบแล้วไปประยุกต์ใช้กับสิ่งอื่นๆที่มีคุณสมบัติเดียวกัน

การคิดด้วยการสังเกตพิจารณา(Observation with Discrimination)

การอุปมา (Analogy) …คนจีนนิยมใช้คำพังเพย คนอินเดียตอบปัญหาด้วยการอุปมา เช่น ในมลินท์ปัญหา ..ผัสสะเปรียบเหมือนแพะสองตัวเอาหัวชนกัน การอุปมา อาจนำไปสู่การเดาทฤษฎีหรือกฎของปรากฏการณ์ อาจมีทั้งเดาถูกและผิดก็ได้ ควรนับว่าเป็นการช่วยความคิดหรือสร้างมโนภาพใหม่วิธีหนึ่งก็ได้ เช่นการอุปมาของเหลาจื้อที่ว่า ..หนึ่งให้กำเนิดสอง สองให้กำเนิดสาม สามให้กำเนิดสรรพสิ่งทั้งปวง ..ตรงกันกับการค้นพบปฏิกริยาของนิวเคลียร์ฟิสิกส์ในปัจจุบัน ..คำพังเพยนั้นเป็นการนำสัญลักษณ์มากล่าวแทนของจริงที่มันแทนอยู่ เป็นเรื่องของศิลปะและวรรณคดีโดยเฉพาะ

ว่าด้วยความมีอยู่ (Existence)


-ความรู้ใดๆก็ตามย่อมเป็นความรู้ในสิ่งที่มีอยู่ สิ่งไม่มีย่อมไม่ใช่สิ่งที่ต้องการจะรู้ ..ความรู้ว่าสิ่งที่มีนั้นเป็นอย่างไร วิทยาการนี้เรียกว่า ภววิทยา (Ontology) คือ ปรัชญาที่สอนสิ่งที่มีนั้นเอง ภวะ หรือภพ แปลว่าความมีอยู่


-สิ่งที่มี ได้แก่ สสาร สิ่งนอกกาย เป็นต้นเหตุของสัมผัส และเป็นสิ่งที่มีอยู่จริง มันคือ สิ่งที่มี


-ธรรมชาติของสสาร มีมวล, ต้องการเนื้อที่, มีการเคลื่อนไหวอยู่เสมอ, มีความเกี่ยวข้องและพึ่งพากันทั้งมวล, เป็นเอกภพหรือจักรวาล ทั้งหมดนี้เป็นความมีจริง


-เพราะสสารมีการเคลื่อนไหว หรือปรากฏการณ์ที่มี, ประวัติศาสตร์จึงมี การเคลื่อนไหวย่อมมีแต่สสารเท่านั้น โดยตัวเองไม่มี การเคลื่อนไหวมีสาเหตุจากภายนอก (Mechanics)


-สสาร มีการกินที่ในทุกทิศทาง การกินที่ปรากฏด้วยโครงครอบที่มีสสารบรรจุอยู่ เรียก อวกาศ (Space) หรือที่ว่างเปล่า (ในพระสูตรทางพุทธศาสนา) ซึ่งเคลื่อนไหวไปตามการเคลื่อนไหวของสสาร อวกาศจึงไม่ได้มีอยู่อย่างโดดเดี่ยว เกี่ยวข้องใกล้ชิดกับกาล หรือเวลา อวกาศและกาลเป็นนามธรรมถอดออกจากสสารที่เคลื่อนไหว ไม่ใช่สิ่งมี คงมีแต่สสารที่เคลื่อนไหวเท่านั้น


-ทฤษฎีสัมพันธภาพของไอน์สไตน์ทำให้ทราบว่าสสารมีการเคลื่อนตัวของมันเอง ไม่เพียงแต่มีการกระทำจากภายนอกเท่านั้น ตรงตามหลักภววิทยาที่ถือว่าสสารวัตถุมีการเคลื่อนไหวตัวเองเป็นธรรมชาติ ดังนั้นอวกาศถูกเปลี่ยนความคิดที่ประกอบด้วยเส้นตรง เป็นเส้นโค้ง เป็นอวกาศที่โค้ง (Curve Space)


-ด้วยสสารมีการเคลื่อนไหวภายในด้วย จึงมีความเปลี่ยนแปลงเป็นอนิจจัง การเคลื่อนไหวภายในของสสารคือการเปลี่ยนแปลง (Change) ในขณะที่เปลี่ยนจึงเป็นทั้งของตัวเองและไม่ใช่ของตัวเอง จึงมีการพัฒนา มีการขัดแย้งภายในเกิดขึ้น คือมีการเป็นอย่างเดียวกับตัวเองและแย้งกับการไม่เป็นอย่างเดียวกับตัวเอง ซึ่งจากเหตุนี้ทำให้เกิดผลเป็นอย่างอื่น …การคิดไปเป็นการอย่างเดียว (Self Identity) จึงเป็นตรรกวิทยาที่ผิด


-เมื่อการเปลี่ยนแปลง ..จะว่าสิ่งนั้นไม่ใช่เป็นสิ่งอื่นก็ไม่เชิง เป็นการพัฒนาเชื่อมต่อกันระหว่างความมีอยู่เป็นระยะต่างของการเปลี่ยนแปลง …การเชื่อมต่อนี้คือประวัติศาสตร์ (History)


-ทฤษฎีการเปลี่ยนแปลงตามพุทธ สำหรับศาสนิกชนบางคนคือ สิ่งหนึ่งเกิดขึ้น, สิ่งนั้นดับไป, สิ่งอื่นเกิดขึ้นต่อเนื่องจากสิ่งนั้น, สิ่งดังกล่าวดับไป, ฯลฯ, ฯลฯ ตามหลักปรัชญาวิทยาศาสตร์ สิ่งนั้น แย้งกับ ไม่ใช่สิ่งนั้น, คือสิ่งแวดล้อม, (ทำให้เกิด) สิ่งอื่น, ซึ่งเนื่องมาจากสิ่งนั้น เช่น เนื้อเหล็กเกิดขึ้น, เนื้อเหล็กดับไป, สนิมเหล็กเกิดขึ้น, สนิมเหล็กดับไป, ในทำนองคือ เนื้อเหล็กแย้งกับ, ไม่ใช่เนื้อเหล็ก, คืออ๊อกซิเจน (ทำให้เกิด) สนิมเหล็ก หรือเหล็กอ๊อกไซด์


-การเปลี่ยนแปลงภายในจากการขัดแย้งอันได้แก่ ..การเป็น-ไม่เป็น ทำให้สรรพสิ่งพัฒนาไป (สิ่งหนึ่ง)เปลี่ยนแปลงไปเป็นประวัติศาสตร์ เกิด, เสื่อม, และสูญ(กลายเป็นสิ่งอื่น) เกิดขึ้นเป็นวัฏฏจักร (วงสว่าน ..เวียนคืบก้าวไปข้างหน้า) ตลอดเวลา เป็นอนิจจัง-อนัตตา (ควบคุมไม่ได้)


-เพราะการเคลื่อนไหวเปลี่ยนแปลงไม่เป็นอิสระ หรือโดดเดี่ยวจากสิ่งแวดล้อม หากมีความเกี่ยวข้องพึ่งพากัน เป็นข้อเท็จจริงที่ถือเป็นรากฐานของปรัชญา เพื่อนำความคิดของเราไปสู่สัจจธรรมปลายมือ ความเกี่ยวข้องของสสารเป็นความเกี่ยวข้องที่มีจริง


-ฉะนั้นในการศึกษาสิ่งใดเพื่อความมีจริง ต้องศึกษามันเป็นฐานที่เกี่ยวพันกับสิ่งอื่นหรือสิ่งแวดล้อม เราไม่อาจศึกษาตัวตนแท้ของมันได้เลย เพราะมันไม่มี จะมีตัวตนก็ในความเกี่ยวพันกับสิ่งอื่นเท่านั้น


-การมองสรรพสิ่งที่มีฐานเกี่ยวพันและพึ่งพากันทั้งหมดนี้ นำเราไปสู่การพิจารณาเรื่องเหตุผลทันที …เป็นลักษณะของเหตุผลที่โยงกันเป็นลูกโซ่ (Chain of Causation) ไม่มีการควบคุมเหตุหรือปัจจัย(เงื่อนไข)เหมือนในห้องทดลองวิทยาศาสตร์


-เหตุและปัจจัยหลายอย่างหลายประการจะกระทำต่อผลอย่างเดียว มีลักษณะการกระทำต่อผลสองประการ คือ แบบขนาน ..หลายเหตุหลายปัจจัยกระทำต่อผลเดียวพร้อมกันในเวลาเดียวกัน และกระทำแบบอันดับ ..เหมือนปฏิกริยาลูกโซ่ในระเบิดปรมาณู หรือในหลักปฏิจจสมุปบาท ของพุทธศาสนา ที่ว่า เหตุ ก เป็นปัจจัยให้กำเนิดผล ข แล้วเหตุ ข เป็นปัจจัยให้เกิดผล ค เรื่อยไปเป็นวงจร


-ความผิดพลาดของนักคิดส่วนมาก ไม่ทราบถึงความมีอยู่ของเหตุผลที่สืบต่อกันแบบลูกโซ่ มักคิดกันง่ายของผลอย่างหนึ่งเกิดจากเหตุที่อยู่ถัดไป


-สรรพสิ่งและสรรพปรากฏการณ์เกี่ยวข้องและพึ่งพากันหมด ..หากเกี่ยวข้องกันในทำนองเหตุก่อให้เกิดผลแล้ว จากการสังเกต (เท่านั้น) ก เป็นเหตุของ ข ..ข ก็จะกลับเป็นเหตุของ ก ได้ เช่น ตะเกียงเป็นเหตุให้เกิดแสงสว่างที่กำแพง ในขณะเดียวกันแสงที่กำแพงส่องกลับมาทำให้ตะเกียงสว่างขึ้นได้ ..ดังนั้น สิ่งแวดล้อมในธรรมชาติกำหนดความเป็นไปของเรา ขณะเดียวกัน คนซึ่งเรียนรู้แล้วก็สามารถกำหนดความเป็นไปบางส่วนของธรรมชาติได้ …นี่คือหลักความจริงแห่งการเป็นเหตุและผลกลับกัน ทำให้เราสามารถแปลงโฉมธรรมชาติเพื่อให้ผลดีกับมนุษย์ด้วยกันได้


นี่.. เป็นประเด็นที่ผมเก็บมารวมกันไว้ จากงานเขียนเชิงวิทยานิพนธ์ เรื่อง “ปัญญา” โดยสมัคร บุราวาศ ในทรรศนะที่สร้างแรงบัลดาลใจสำหรับผม ..ยงยุทธ ณ นคร นะครับ


(คัดย่อจาก…สมัคร บุราวาศ, ปัญญา..จุดกำเนิดและกระบวนพัฒนาทางปัญญาของมนุษย์ชาติ, สำนักพิมพ์ศยาม, พฤษภาคม ๒๕๒๐)


The Dampness Building

 


The Dampness Building
ปัญหา การควบคุม และป้องกัน ความชื้นสำหรับอาคาร

ปัญหาของน้ำ กับอาคาร

ปัญหาสำคัญของน้ำที่มีผลกระทบต่ออาคาร คือ ความชื้น (Dampness) ความชื้นทำให้วัสดุส่วนต่างๆของอาคารชำรุดและเสียหาย เพราะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลง อุณหภูมิในเนื้อวัสดุ ซึ่งมีสารที่เป็นกรด เกลือ หรือด่างเจือปน จึงทำให้เกิดการสึกกร่อนของวัสดุ และแตกร้าวในที่สุด

สาเหตุของความชื้น คือ

เกิดจากน้ำในระหว่างการก่อสร้างอาคาร
เกิดจากการดูดซึมน้ำในดิน โดยวัสดุที่แห้งหรือมีรูพรุนผ่านกำแพง หรือ พื้นในส่วนใต้ดิน จากปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Capillary action
เกิดจากความชื้นในอากาศ เป็นปรากฏการณ์ที่เรียกว่า Condensation คือ ความชื้นที่เกิดขึ้น ในสภาวะที่อุณหภูมิภายนอกและภายในอาคารต่างกัน ทำให้ เกิดการกลั่นตัวของอากาศเป็นละอองน้ำหรือหยดน้ำ แล้วโดนดูดซึมโดย วัสดุพรุน (Porous or Hydroscopic materials) ของอาคาร
เกิดจาก ฝน ไหล รั่ว ซึม เข้าสู่อาคาร
เกิดจากน้ำที่รั่วซึมไหลออกมาจากท่อปะปา หรือ ท่อระบายน้ำต่างๆ ที่บกพร่องเสียหาย
เกิดจากน้ำท่วมขัง โดยภัยธรรมชาติ หรือจากการทำความสะอาดอาคาร
Condensation&Capillary action

การออกแบบเพื่อป้องกันความชื้นของอาคาร ที่สำคัญคือ การศึกษาเพื่อ ทำความเข้าใจถึงสาเหตุของการเกิดความชื้นในอาคาร โดยเฉพาะปรากฏการณ์ของ Condensation และ Capillary action และค้นหากรรมวิธีเพื่อการป้องกันและควบคุม ไม่ให้ความชื้นในอาคารมีผลสร้างความเสียหายต่ออาคารและผู้อยู่อาศัยได้ในที่สุด

Condensation

คือการเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในอากาศกลายเป็นหยดน้ำ เริ่มเมื่อสภาวะของไอน้ำในอากาศ อยู่ในปริมาณสูงสุด ที่อากาศจะควบคุมความเป็นไอน้ำไว้ได้ (Dew point) เมื่อใดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิในอากาศ มีระดับการ เปลี่ยนแปลงต่ำกว่า Dew point อากาศก็ไม่สามารถจะควบคุม หรือ hold ไอน้ำในอากาศไว้ได้ จึงแปรสภาพเป็นหยดน้ำ ลักษณะการณ์นี้เรียกว่าการเกิด Condensation การเกิด Condensation มีสองลักษณะคือ การเกิดที่ผิวของวัสดุหรือกำแพง เรียก Surface condensation และการเกิดในเนื้อวัสดุหรือกำแพง โดยเฉพาะพวกวัสดุสังเคราะห์ และกำแพงที่ประกอบด้วยวัสดุต่างชนิดกันหลายอย่าง หรือ ในส่วนของวัสดุโครงสร้างหลังคา เรียก Interstitial condensation การเกิด Surface condensation จำนวนไอน้ำในบรรยากาศ (Water Vapor) ขึ้นอยู่กับอุณหภูมิและความชื้นสัมพัทธ์ ของอากาศ อุณหภูมิ ขีดจำกัดที่ควบคุมไอน้ำไว้ไม่ให้เกิดการกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ (Water saturated) คือ Dew-point ในบรรยากาศที่มีอุณหภูมิอุ่น อากาศสามารถรวบรวม จำนวนไอน้ำไว้ได้มากกว่าในบรรยากาศที่ๆมีอุณหภูมิเย็นกว่า ก่อนที่อากาศจะแปรสภาพเป็นหยดน้ำ ดังนั้น เมื่ออากาศที่อุ้มไอน้ำไว้ในระดับอุณหภูมิ Dew-point เกิด การสัมผัสกับ ผิวด้านเย็นของวัสดุที่สะสมความชื้นไว้จากที่อื่น ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของบรรยา กาศตรงส่วนนี้ กล่าวคือากาศเย็นลง จนเมื่ออุณหภูมิต่ำกว่าระดับ Dew-point ก็จะเกิดปรากฏการณ์ที่ ไอน้ำกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ จับอยู่ที่ผิววัสดุนั้นการใส่ฉนวน มีความจำเป็นในการแก้ปัญหานี้ เพราะจะป้องกันไม่ให้อากาศ ภายในมีโอกาสเปลี่ยนแปลง เมื่อสัมผัสกับวัสดุที่กั้นระหว่าง ด้านอากาศเย็น โอกาสที่อุณหภูมิตรงผิววัสดุจะไม่ต่ำหรือเย็นลงกว่าระดับ Dew-point การเกิด Interstitial condensation ในที่ว่างหรือห้องที่มีคนจำนวนมาก อากาศ ภายในจะอุ่นและชื้น ในขณะที่อากาศภายนอกเย็น ความแตกต่างของแรงดันไอน้ำ ทำให้มีการเคลื่อนตัวของอากาศ ในส่วนที่เป็นโครงสร้างกั้นอยู่ระหว่าง เช่นกำแพง ผนัง โครงสร้างเพดานหรือหลังคา หากองค์ประกอบของโครงสร้าง เหล่านี้มีความพรุนหรือกลวงมาก การเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิที่เกิดจากการเคลื่อนไหวของอากาศ อาจเกิดขึ้นในส่วนของโครงสร้างหรือเนื้อวัสดุนั้นๆ จึงทำให้เกิดการแปรสภาพอากาศเป็นหยดน้ำขึ้นในส่วน โครงสร้างหรือเนื้อวัสดุ แทนที่จะเกิดตรงแค่ผิวของวัสดุเพียงอย่างเดียว มีผลทำให้ชิ้นส่วนของโครงสร้างเสียหายและเสื่อมคุณภาพได้เร็วขึ้น ปัญหาที่เกิดขึ้นมาก คือ โครงสร้าง เพดานหรือหลังคาวัสดุที่เป็นพวก Vapor barrier หรือ แผ่นวัสดุกันความชื้น จะมีความสำคัญในการป้องกันการเกิด Interstitial condensation เพราะเป็น ตัวป้องกัน แรงดันไอน้ำ Water Vapor movement ไม่ให้เกิดขึ้น นอกจากนี้ การระบายอากาศ ในส่วนของโครงสร้างต่างๆ เป็นสิ่งจำเป็นที่คงสภาพของบรรยากาศ ให้มีอุณหภูมิสูงกว่าระดับ Dew-point เสมอ ตำแหน่งการวางแผ่นกันความชื้น ที่เหมาะสม คือ วางไว้บนด้านที่อุ่นของฉนวน เพราะเป็นที่ๆจะควบคุมระดับ Dew-point ให้คงที่เสมอ หรือทำให้ที่ว่างส่วนล่างหลังคา มีอุณหภูมิอุ่นอยู่เสมอ ตัวอย่างวัสดุแผ่นกั้นความชื้น หรือ Vapor barrier เช่น Asphalt-coated felts หรือ Asphalt-coated papers แผ่น อลูมิเนียมฟอยหรือทองแดง แผ่น Polythenefilm การทา ผิวด้วยสีอลูมิเนียม หรือ Asphalt coating การเคลือบผิวของไม้ หรือทาสีไม้ ด้วย Latex-emulsion paints เป็นต้น

Capillary action

เป็นลักษณะการไหลผ่านของน้ำหรือความชื้น โดยการดูดซึม ของวัสดุกำแพง หรือพื้นสามารถเกิดจากส่วนบน ลงส่วนล่างและส่วนล่างขึ้นส่วนบน เช่นเดียวกับการไหลผ่านในแนวนอนด้วย เช่นกำแพงส่วนที่ติดกับพื้นดิน เนื่องจาก โครงสร้างส่วนล่างของอาคาร เป็นวัสดุ คอนกรีต ที่ไม่ได้ทำผิวสำเร็จ จึงเป็นลักษณะ ที่เป็นวัสดุพรุน Porous materials ทำให้ง่ายในการดูดซึมน้ำจากดิน ผ่านขึ้นสู่กำแพง ตอนบน

สาเหตุที่เกี่ยวของกับการเกิด Capillary action คือ

เนื้อวัสดุกำแพงแห้งเร็ว ทำให้การดูดซึมน้ำและความชื้นได้ง่าย เพราะอุณหภูมิ และความชื้น ภายในของ วัสดุเหล่านี้ ทำให้อากาศผ่านได้โดยตลอด และองค์ประกอบของวัสดุ มีคุณภาพต่ำ ในการป้องกันการถ่ายเทไอน้ำ ไปสู่ผิวภายนอกของวัสดุโดยเร็ว
วัสดุกำแพง เป็น พวกต่างชนิดต่อเนื่องกัน ทำให้เกิดแรงดูดเอาน้ำไหลผ่านเข้าหากัน เพราะวัสดุแต่ละ ชนิด มีอุณหภูมิภายในเนื้อของวัสดุต่างกัน รวมทั้งความแตกต่าง ของปริมาณความชื้น ที่สะสมภายในด้วย ที่ทำให้เกิดการดูดซึม (suction flow or absorption permeability) ของน้ำได้
ปัญหาความชื้นของหลังคา

การควบคุมความชื้นในส่วนหลังคา
ประโยชน์ของฉนวน
ส่วนอาคารที่สำคัญในการศึกษา และออกแบบเพื่อป้องกันความเสียหายมีดังนี้ ปัญหาความชื้นของหลังคา มีสาเหตุดังนี้ คือ

1- น้ำฝน

2- Condensation

2.1- Surface condensation

2.2- Interstitial condensation

การออกแบบเพื่อการป้องกัน

คือ การคำนึงและพิจารณาสิ่งต่างๆดังนี้

ความเอียงลาด โครงสร้าง และชิ้นส่วนของวัสดุมุง ของหลังคาชนิดต่างๆ
การควบคุมอุณหภูมิในส่วนใต้หลังคา เช่นการระบายอากาศ- Ventilation
การติดตั้งฉนวน ป้องกันความร้อน- Insulation และ
การใช้วัสดุกันแรงดันไอน้ำ- Damp proofing course โดยการใช้ Vapor barrier หรือ Watertight membrane
การออกแบบรางระบายน้ำฝน และการทำ Flashing ในส่วนต่างๆ ของหลังคา
การควบคุมความชื้นในส่วนหลังคา

วัสดุก่อนใช้ต้องแห้ง ปราศจากน้ำ หรืออยู่ในสภาพที่ปกติ
การอุดทาสารเคลือบผิวต่างๆ ต้องขจัดความชื้นก่อนเสมอ
ควรมีการระบาย หรือการถ่ายเทอากาศได้ตลอดเวลา
รักษาระดับอุณหภูมิ Dew point ให้คงที่ โดยผิวผนังหรือชิ้นส่วนของโครงสร้าง หลังคาต้องอุ่นอยู่เสมอ
ประโยชน์ของฉนวน คือ

ลดความต่างของอุณหภูมิในโครงสร้าง
ทำให้ความชื้นแผ่กระจายโดยสม่ำเสมอตลอดที่ว่าง ไม่รวมตัวอยู่เป็นแห่งๆ
รักษาระดับอุณหภูมิ Dew point ให้คงที่เพื่อป้องกันการเกิด Condensation
ความลาดเอียงของหลังคา การออกแบบโครงสร้างหลังคา ที่นิยมกระทำโดยทั่วไป มีสองลักษณะคือ หลังคาที่มี ความลาดเอียง และหลังคาแบน หลังคาที่มีความลาด เอียง มากหรือน้อยขึ้นอยู่กับ ชนิดของวัสดุที่ใช้มุงหลังคา เช่น กระเบื้องดินเผา กระเบื้องแผ่นเอสเบสตอส และ กระเบื้องไม้ เป็นต้น ขนาดของแผ่นกระเบื้อง เป็นตัวกำหนด ความเอียงลาดของหลังคา เหตุผลสำคัญก็คือความต้องการ ที่ให้น้ำระบายไหลลงโดยเร็วที่สุด หลังคา ที่มีความเอียงลาดมาก จะมีข้อเสียคือ การเพิ่มความสูง และการ เปลืองเนื้อที่ ของหลังคาสำหรับอาคาร ยกเว้นในกรณี ที่มีการแบ่งพื้นที่ การมุงหลังคา ออกเป็นส่วนๆ เพื่อลดความสูงลง แต่ก็จะมีปัญหา การเพิ่มรางระบายน้ำ ระหว่างส่วนของหลังคา ซึ่งมักเกิดขึ้นตรงส่วนภายใน ของอาคาร อันจะนำไปสู่ปัญหา ของการระบาย น้ำภายใน ของอาคารต่อไป ที่สำคัญคือปัญหาการเอ่อล้นของน้ำฝน ของรางน้ำภายในได้ ซึ่งเมื่อเกิดขึ้นแล้ว ย่อมส่งผลของความเสียหายภายในอาคารได้ มากกว่าปัญหาของการระบายน้ำของรางน้ำ ที่มีเฉพาะด้านภายนอกอาคารเท่านั้น ระยะการซ้อนทับของแผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ขึ้นอยู่กับความเอียงลาดชันของหลังคาและข้อมูลของ ปริมาณน้ำฝน และแรงลมของบริเวณที่ตั้งอาคาร การเลือกวัสดุมุงหลังคา ขึ้นอยู่กับการพิจารณา เรื่องการป้องกันความร้อน การป้องกันความชื้น และการขยายตัวและหดตัวเมื่อมีการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ กระเบื้องหลังคาแผ่นเล็ก มีปัญหาการยืดหดตัวน้อยกว่า กระเบื้องหลังคาที่มีขนาดใหญ่กว่า เช่น พวกกระเบื้องลอน เอสเบสตอส หรือกระเบื้องลอนจำพวกโลหะ ซึ่งกระเบื้องหลังคาที่เป็นโลหะ ต้องมีการระวัง และ ป้องกันการสึกกร่อนจากสนิม และความชื้นที่เกิดจาก condensation ด้วยปัญหาที่เกิด ตรงบริเวณซ้อนทับของแผ่นกระเบื้อง ที่ต้องระวังคือ การไหลย้อนขึ้นของน้ำที่เกิดจาก capillary action หากการซ้อนทับ ทำให้เกิดโพรงอากาศที่ไม่ต่อเนื่อง เพราะการทับแน่นที่สนิทเกินไป และหากการซ้อนทับหลวมเกินไป ก็จะทำให้น้ำฝนไหลย้อนผ่าน รอยทับเพราะแรงลม การแก้ปัญหานี้เรียกว่า sarking เป็นการนำแผ่นกันน้ำ (impervious layer) มาปูใต้แผ่นกระเบื้องมุงหลังคา ทำ หน้าที่เป็นตัวกันน้ำ (vapor barrier) แล้ว ยังเป็นตัวนำน้ำที่เกิดใต้กระเบื้องมุงคา อันเกิดจาก condensation หรือ capillary action ระบายไปสู่รางระบายน้ำฝนต่อไป sarking ที่นิยมใช้ในปัจจุบัน คือ แผ่นอลูมิเนียมฟอย ปูใต้แปของโครงสร้างหลังคา ที่มุงด้วยกระเบื้องดินเผาต่างๆ ซึ่งนอกจากมีประโยชน์ ในการป้องกันการแผ่รังสี ความร้อนแล้ว ยังป้องกันน้ำจากสาเหตุดังกล่าวด้วย การใช้ sarking เพื่อป้องกันน้ำนี้ ยังกระทำรวม ไปถึง ผนัง หรือกำแพง ที่ปิดผิวด้วยวัสดุ แผ่นเล็กประกอบกัน หรือ ผนังที่ออกแบบเป็น wall cladding การใช้ sarking จะจำเป็น ต่อการออกแบบหลังคาอย่างมาก ในกรณีที่มีความเอียงลาดน้อย การออกแบบหลังคาแบน เพื่อป้องกันน้ำ การออกแบบหลังแบน จำเป็นสำหรับอาคารที่มีแปลน ไม่มีระเบียบมากนัก ทำให้รูปทรงหลังคาดูกลมกลืนกับส่วนอื่นของอาคารได้ดี เป็นการขจัดปัญหา การทำรางระบายน้ำภายในส่วนของอาคาร และยังอาจใช้พื้นที่บนหลังคา ทำประโยชน์อย่างอื่นได้ เช่น ดาดฟ้า หรือ สวนบนหลังคา หลังคาแบนส่วนมาก มักทำความลาดเอียงของผิว 1:50 - 1:100 เพื่อการระบาย น้ำออกจากหลังคา สิ่งพึงระวัง ในการออกแบบหลังคาแบนที่ดี คือการป้องกันการอ่อนตัวของโครงสร้างหลังคา ที่จะทำให้เกิดแอ่งกักเก็บน้ำเป็นแห่งๆ การออกแบบหลังคาแบน อาจมีการจงใจกักเก็บน้ำไว้บนหลังคา มีปริมาณความลึก ประมาณ 150 มม. อย่างถาวร เพื่อเป็นฉนวน ในการป้องกันความร้อน (heat flow) และลดการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ (thermal movement) ของหลังคา การดูแลรักษาหลังคาแบนในลักษณะนี้ ต้องรักษาปริมาณน้ำบนหลังคาให้คงที่ ควบคุมการเกิดตะไคร่น้ำ ตะกอน ฝุ่นหรือขยะ ที่สะสมในน้ำ ในประเทศ ที่มีอากาศหนาว ต้องป้องกัน การแข็งตัว เป็นน้ำแข็งของน้ำด้วย การออกแบบหลังคาแบนอย่างง่าย เช่นรางระบายน้ำฝน ส่วนอาคารเช่นกันสาดหลังคาคลุมทางเดิน ที่มี พื้นที่ไม่มากนัก มักออกแบบ การป้องกันน้ำ โดยการป้องกันในส่วนที่เป็นส่วนผสม ของคอนกรีต แยกจาก การทำเพิ่มชั้นกันน้ำของผิวคอนกรีต คอนกรีตที่ใช้เพื่อการนี้ ต้องเป็นคอนกรีตกำลังสูง (high-strength concrete) มีอัตราส่วนของน้ำและ ซีเมนต์ต่ำ เนื้อคอนกรีตดังกล่าวจึงเป็น impervious material หรือเรียกว่า warterproof concrete ในตัวของมันเอง เพื่อป้องกันรอยแตก จำเป็นต้องมีการออกแบบเหล็กเสริมกำลังให้มีอัตราส่วนที่พอเพียง ในการกระจายแรงทั้งสองทาง อัตราส่วนของเหล็กเสริมขั้นต่ำ คือ 0.25% จำเป็นต้องเพิ่มเป็น 0.6% สำหรับ เหล็กเสริมการกระจายแรง (distribution steel) และอัตราส่วนขั้นต่ำ 0.0035 สำหรับเหล็กเสริมการอ่อนตัว (flexural reinforcement) รอยต่อต่างๆ ต้องมีการ เอาใจใส่ ทำการป้องกันน้ำที่รอยต่อ (control joints) และหลีกเลี่ยงมุมขอบ หรือหลีกเลี่ยงการทำมุมขอบที่ไม่เป็นเนื้อคอนกรีตเดียวกัน การทำความลาดเอียงของพื้นผิว ควรกระทำความเอียงลาดที่เกิดจากเนื้อคอนกรีตโครงสร้าง ไม่ใช่เพียงกระทำ ในส่วนที่เป็นการทำปูนฉาบผิว (screed) เท่านั้น การดำเนินการเรียกได้ว่า เป็นการออกแบบคอนกรีตกันน้ำ (waterproof concrete) สำหรับหลังคาแบน การออกแบบคอนกรีตกันน้ำ เหมาะสำหรับหลังคาของอาคารที่ใช้เป็นที่จอดรถ เพราะเป็น การป้องกันน้ำที่ไม่อาศัย การออกแบบเพิ่มชั้นผิววัสดุกันน้ำของพื้น เนื่องจากการวิ่งผ่านของรถยนตร์มากๆ ทำให้วัสดุกันน้ำที่เสริมไว้เสียหายได้ง่าย และเมื่อเป็น ดังนั้น การป้องกันน้ำโดยการเพิ่มชั้นผิวคอนกรีตดังกล่าว จึงไม่เป็นผล ส่วนการเพิ่ม ชั้นฉนวนกันความร้อน จะไม่วางตรงส่วนบนของเนื้อคอนกรีตกันน้ำ เพราะหากมีการแตก และรอยร้าวของหลังคา จะทำให้มีความยุ่งยากในการ ซ่อมแซมภายหลัง วิธีการป้องกันน้ำสำหรับการออกแบบหลังคาแบนโดยทั่วไป คือการเพิ่มชั้น โดย วัสดุกันน้ำ (waterproof membrane) แผ่นวัสดุกันน้ำนี้ ต้องปิดรอยต่อทุกแห่งสนิท ไม่ให้น้ำผ่านได้ แผ่นกันน้ำนี้ สามารถปูทับบนพื้น คอนกรีต หรือพื้นไม้ ซึ่งเดิม ไม่มีคุณสมบัติในการกันน้ำ การปรับผิวพื้นในกรณีนี้ จำเป็นต้องให้มี ความลาดเอียง เล็กน้อย แผ่นกันน้ำที่ใช้โดยทั่วไป มี 3 ชนิด คือ เป็นวัสดุเหลวจำพวก แอสฟัลส์ ใช้ลาดและกลิ้งทับให้เรียบ มีความหนาประมาณ 20 มม. หรือเป็น แอสฟัลส์ ชนิดทำ เป็นแผ่นสำเร็จรูป และวัสดุกันน้ำ ที่ทำหลังคาแบนประเภท built-up roofing ซึ่งเป็น การผสมผสานของแผ่นใยสังเคราะห์ (felt) กับวัสดุจำพวก บิทูเมนเหลว เข้าด้วยกัน โดยกระทำเป็นชั้นผิวอย่างน้อย 3 ชั้น เพื่อการกันน้ำ ก่อนมีการทำผิวหลังคาต่อไป ปัจจุบันมีการทำแผ่นใยสังเคราะห์ โดยใช้ใยสังเคราะห์ของ พลาสติก หรือ แก้ว แทน ของเดิมที่เป็นใยสังเคราะห์ของ เอสเบทตอส หรือ กระดาษ แล้วเสริมกำลังให้เป็น สารผสมเนื้อเดียวกัน ด้วยยางเทียมเหลว แทนสารเหลวบิทูเมนเดิม แผ่นกันน้ำ พวกทำจากพลาสติก นอกจาก จำพวกทำเป็นแผ่นสำเร็จรูปแล้ว ยังทำเป็นของเหลว ที่สามารถ ใช้พ่น ฉาบ ทาผิวหลังคา หรือใช้เป็นน้ำยาผสมในเนื้อคอนกรีต เพื่อการป้องกันน้ำ สำหรับหลังคาแบน อย่างไรก็ตามวัสดุที่ใช้ป้องกันน้ำ ของหลังคาเหล่านี้ จะค่อยๆเสื่อมคุณภาพลงไป เมื่อมีโดนแสงแดด และอุณหภูมิที่ร้อนมากๆ ทำให้มีการเปลี่ยนแปลงทางเคมีในส่วนผสม ของวัสดุเหล่านั้น หรือเกิดรอยแตก ของชั้นผิวที่มีแผ่นกันน้ำ ที่เกิดจากการระเหยของน้ำที่อาจตกค้างบนหลังคา หรือน้ำที่เกิดจากการ condensation ในหลังคาเวลากลางคืน และระเหยเป็นไอในเวลากลางวัน การลดปัญหา นี้สามารถกระทำได้ หากมีการออกแบบ ให้ชั้นผิวหลังคา ที่กระทำเพื่อป้องกันน้ำนี้ มีการระบายของอากาศได้ตลอดเวลา เช่นโดยการทับผิวด้วยผงหินแร่ หรือ กรวด และอาจปูทับด้วยแผ่นคอนกรีตสำเร็จรูป หรือ คอนกรีตหล่อกับที่ก็ได้ การทำฉนวน กันความร้อนหลังคา มักกระทำที่ตรงผิวบนของชั้นผิวกันน้ำ ก่อนการปูทับผิวหลังคา อื่น ฉนวนนี้นอกจาก มีประโยชน์ในการป้องกัน ความร้อนของหลังคาแล้ว ยังเป็นฉนวน ป้องกันการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิที่รุนแรง สำหรับชั้นผิวกันน้ำของหลังคาด้วย อันเป็นการยืดอายุการใช้งานของวัสดุกันน้ำได้มากขึ้น

ปัญหาความชื้นของกำแพง

การป้องกันและควบคุม

ปัญหาความชื้นของกำแพงเหนือระดับดิน มีสาเหตุดังนี้ คือ

น้ำฝน ที่ไหลผ่านตรงช่องเปิดต่างๆของอาคาร เช่นช่องประตูและหน้าต่าง
Capillary action การดูดซึมของน้ำและความชื้นในทุกทิศทาง โดยเฉพาะกำแพง ส่วนล่างใกล้พื้นดิน
Interstitial condensation ที่เกิดในกำแพง และตรงวัสดุปะผิว โดยเฉพาะกำแพงห้องน้ำ ที่ต่อเนื่องกับด้านนอกอาคาร
การป้องกันและควบคุม

Exclusion water ป้องกันส่วนกำแพงให้โดนฝนสาดน้อยที่สุด ขจัดน้ำรอบอาคาร ระบายน้ำและความชื้นออกจากกำแพง
ทำผิวกำแพงให้เป็น Impervious wall เช่นการทาสี เคลือบผิว ปะผิว หรือการปิด ความพรุนของวัสดุกำแพง กำหนดความหนาและความเป็นเนื้อเดียว Monolithic wall ให้เหมาะสมกับปริมาณความชื้นที่ผ่าน โดยไม่ให้เกิดความเสียหายที่ผิวด้านนอกของ กำแพง
เปลี่ยนทิศทางการไหลซึมของน้ำ ตรงบริเวณช่องเปิดต่างๆของอาคาร
ปิดกั้นทางไหลซึมของน้ำและความชื้น โดยกรรมวิธีต่างๆของ Damp proofing course หรือเรียกโดยย่อว่า D.P.C. methods
สรุป แนวความคิดมี 2 ประการ คือ

Prevention ป้องกันไม่ให้น้ำไหลผ่านกำแพงได้เลย โดยการแปรสภาพ ของ วัสดุกำแพง เป็น ลักษณะ ของ Impermeable materials ในทุกๆส่วน เช่น การฉาบ ปะบุ ทาสี หรือ เคลือบผิวผนัง ทำ Water proofing membrane หรือทำ Asphalt/Felts ระหว่างกำแพงกับวัสดุตกแต่งผิวด้านนอก รวมทั้งการทำ Light cladding walls ด้วย
Control :
2.1 ควบคุมการแทรกตัวของน้ำ โดยการเพิ่มความหนาของกำแพง ให้มีระยะเวลาการระเหยของน้ำ ก่อนที่จะแทรกตัว เข้าไปด้านในของกำแพง หรือการป้องกันกำแพง โดย การทำที่บังฝน ไม่ให้สาดโดนกำแพงโดยตรง Decreasing Exposure Walls

2.2 การควบคุม Capillary Action โดยตรง คือการทำกำแพง 2 ชั้น อาจใช้วัสดุ ต่างชนิดหรือเช่นเดียวกัน กำหนด ให้มีช่องว่างตรงกลางเพื่อให้น้ำผ่าน เข้ากำ แพงส่วนนอก แล้วไหลลง ตอนล่าง เพื่อจัดการระบายออกต่อไป การป้องกัน น้ำสำหรับกำแพง โดยเฉพาะ กำแพง ที่ก่อสร้าง ด้วยวัสดุที่มีความพรุนมาก เช่น หิน หรือ อิฐ หินบางชนิด เช่น แกรนิต หินอ่อน มีคุณสมบัติในการป้องกัน การดูดซึมของน้ำได้ดีมาก เพราะเนื้อหิน มีความพรุนน้อย อิฐบล็อก หรือคอนกรีตบล็อก ถือเป็น porous materials จึงจำ เป็นต้องมีการออกแบบเพื่อป้องกันน้ำ สำหรับกำแพงที่ก่อสร้างด้วยวัสดุเหล่านี้ ความหนากำแพง จะช่วยชะลอเวลา การผ่านซึมของน้ำเข้าสู่อาคาร การลดปริมาณน้ำ ที่จะก่อให้เกิดผลเสียหายต่อกำแพงและอาคารในที่สุด

มีประเด็นการพิจารณา ในการ ออกแบบกำแพงดังนี้ คือ

มีสิ่งปกคลุมส่วนบนสุดของกำแพง เช่น มีส่วนยื่นของชายคาหลังคา เป็นต้น
ถ้ามีการทำขอบสูงเพื่อบังหลังคา (parapet wall) จะต้องมีการทำแผ่นกั้นน้ำไหล ย้อนขึ้น (flashing) และส่วนบน ของขอบหลังคานี้ ต้องทำชิ้นทับตอนบน (coping) ด้วยวัสดุที่มีเนื้อพรุนน้อย และมีส่วนยื่น และลาดเอียงพอเพียง เพื่อขจัดน้ำ ออกจากกำแพงให้มาก และ เร็วที่สุด
ตรงส่วนล่างของกำแพงที่ติดดิน ต้องมีการป้องกันน้ำ และความชื้น (damp-proofing course) โดยทำแผ่นกันน้ำ หรือความชื้นที่ไหลย้อนขึ้นจากดิน (rising damp)
รอยต่อทุกแห่งของกำแพง ต้องมีการออกแบบทำ การเชื่อมปิด (weather-struck joints) เพื่อกั้นการ แทรก ซึมของน้ำและความชื้น
ทาสี หรือฉาบผิวผนัง ให้เป็นลักษณะของ impermeable wall หรือ ทำวัสดุกำแพง ให้เป็น non-porous material
การทำกำแพงสองชั้น และมีช่องว่างตรงกลาง (cavity wall) เพื่อจำกัด การดูดซึมของน้ำ และความชื้นให้เกิดขึ้นเฉพาะกำแพงชั้นนอกเท่านั้น
กรรมวิธีการป้องกันความชื้น .....damp-proof courses

เป็นวิธีการที่ดีวิธีหนึ่ง ของ การป้องกันความชื้นจากน้ำในดิน ที่แทรกซึมกำแพงในแนวตั้ง rising damp กำแพงส่วนเหนือพื้นดิน มักจะมีปัญหาความชื้นน้อย เนื่องจากหลังฝนตก กำแพงก็มักจะแห้ง และความชื้นระบายออกได้เร็ว แต่กำแพงส่วนที่ใกล้ หรือติดดิน มักจะดำเนินการดูดซึมน้ำ และความชื้นตลอดเท่านานที่น้ำยังคงสะสมอยู่ ในดิน บริเวณนั้น กรรมวิธีการป้องกันความชื้นที่ไหลซึมขึ้นจากดินของกำแพง ก็คือ การจัดวางแผ่นชิ้นยางผสมสังเคราะห์ หรือโลหะ ไว้ระหว่างปูนก่อกำแพง สูงกว่าพื้นดิน หรือต่ำกว่าระดับพื้นยกลอยจากดินเล็กน้อย พอที่จะไม่ทำให้ กำแพงของอาคารส่วนใกล้ดิน แลเห็นสกปรกจากคราบความชื้นจนน่าเกลียด วัสดุที่เป็นแผ่นกันความชื้น หรือ damp-proof course เดิม ส่วนมากเป็นแผ่นตะกั่ว ปัจจุบันเป็นแผ่นสังเคราะห์ ของยางเทียม (polyethylene) หรือ แผ่นบิทูมัส อัดรวมตรงกลางด้วยแผ่นบางๆ ของ วัสดุทองแดง อลูมิเนียม หรือฟอยตะกั่ว ทั้งสองด้านเป็นเปลือกนอก แผ่นกัน ความชื้นนี้ ต้องทนทานต่อปูนก่อ และ การสั่นสะเทือนเล็กน้อยของกำแพง ได้ โดยไม่ฉีกขาดง่าย ในกรณีที่กำแพง ก่อบนที่ดินลาดเอียง แผ่นกันความชื้นที่สอดแทรก ต้องพับงอเป็นช่วงระยะ ตลอดความยาวของกำแพงที่เอียงลาดตามพื้นดิน นอกจากนี้ การทำแผ่นกันน้ำ ต้องกระทำ ตรงส่วนที่เป็นธรณีประตู และธรณีหน้าต่าง หรืออื่นๆที่อยู่ใกล้พื้นดิน

ปัญหาความชื้นของพื้น มี สองชนิดคือ - พื้นชนิดติดดิน - Solid floor - และ พื้นชนิดยกลอย - Suspended floor

สาเหตุ คือ

Capillary action การดูดซึม น้ำและความชื้นจากดิน เพราะในดินมีทั้งแรง ดันของน้ำ -Water pressure และแรงดันของไอน้ำ -Vapor pressure
Condensation โดยเฉพาะที่เกิดตรงรอยต่อวัสดุปูผิวของพื้น
Structure failures ความเสียหายของโครงสร้างพื้น จึงทำให้น้ำไหลผ่านได้
การป้องกันและควบคุม

ควบคุมหรือขจัดน้ำใต้พื้นอาคาร Exclusion of water เช่นการใช้ดินร่วน (Top soil) ที่น้ำซึมผ่านได้ง่าย ถมแต่งบริเวณก่อนการเทพื้น เพื่อไม่ให้มีน้ำท่วมขังใกล้ บริเวณพื้น
ป้องกันและออกแบบโครงสร้างพื้นให้ทนทานต่อสารเคมีที่มีในน้ำและดิน Chemical resistance ในกรณีพื้นลอยตัวเหนือผิวดิน ใต้ถุนหรือช่องว่าง ต้องจัด ให้มีการระบายอากาศ และสะดวกในการดูแลรักษาได้ด้วย
ป้องกันการแทรกตัวของน้ำและความชื้นโดยตรง Water penetration control เช่น ตรงบริเวณรอยต่อต่างๆของพื้น และอื่นๆที่ต่อเนื่องกับโครงสร้างส่วนอื่นของอาคาร
กรรมวิธีการป้องกันน้ำโดยตรง

การใช้วัสดุแผ่นกันน้ำ Water membrane กั้นระหว่างพื้นกับผิวดิน หรือการใช้ สารผสม ในเนื้อคอนกรีตของพื้น เพื่อแก้ปัญหาความพรุนของวัสดุที่ทำพื้น รวมทั้ง การใช้แผ่นยางกันน้ำ Water stop เชื่อมระหว่างรอยต่อของแผ่นพื้น เป็นต้น
กรรมวิธีป้องกันความชื้นต่างๆ ที่เรียก Damp proofing course หรือ D.P.C. ตรง ส่วนต่อของพื้นที่ยกลอยกับพื้นดิน เพื่อป้องกัน Rising damp จากดิน หรือ Rising water ที่ดูดซึมไหลขึ้นโดยกำแพงที่ติดต่อกับพื้น และการป้องกัน ตรงส่วนต่อของวัสดุปูผิวพื้น เช่นการทาเคลือบผิวพื้นคอนกรีต ด้วยสาร ฟลิ้นโค๊ต หรือสารกันซึม อย่างอื่น ก่อนการปูผิวพื้นด้วยวัสดุ เช่นแผ่นกระเบื้องไม้ กระเบื้องยาง เป็นต้น
ขจัดความชื้นด้วยความร้อนและกระแสไฟฟ้า Electrical/Heat systems เช่นการ สะสมความร้อนจากพลังแสงอาทิตย์หรืออย่างอื่น ไว้บริเวณใต้ถุน ของ พื้น เพื่อรักษาอุณหภูมิของพื้นให้อุ่นอยู่เสมอ หรือการชักนำประจุไฟฟ้าสถิต Electro-static syste ให้แผ่กระจายตรงบริเวณของพื้น ที่คาดว่าจะมีการสะสม ของ ความชื้นอยู่ และเป็นการป้องกันการเกิด Condensation โดยตรงอีกด้วย
การป้องกันน้ำใต้ดินสำหรับโครงสร้างส่วนล่างของอาคาร

ปัญหาความชื้นและน้ำสำหรับห้องใต้ดิน มีสาเหตุ เกิดจากเหตุใหญ่สองประการ คือ - Water pressure และ Vapore pressure อันเนื่องจากการก่อสร้างอาคารบางส่วน ต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน หรือในบริเวณที่มีทางไหลผ่านของน้ำมากๆ กรณีสำคัญที่เกี่ยวข้องกับระดับน้ำใต้ดิน คือ

ระดับน้ำใต้ดินขึ้นอยู่กับ ความสูงต่ำของผิวดิน จะมีระดับลึกมากตรงบริเวณเนินเขาสูง และระดับต่ำตรงส่วนที่เป็นหุบเขา
ฝนเป็นตัวเพิ่มปริมาณของน้ำใต้ดิน ระดับความสูงต่ำของน้ำใต้ดิน ขึ้นอยู่กับปริมาณน้ำฝนด้วย
น้ำพุ เกิดขึ้นตรงบริเวณที่ผิวดิน อยู่ในสภาพต่ำกว่าระดับน้ำใต้ดิน
การป้องกันน้ำใต้ดินสำหรับโครงสร้างส่วนล่างของอาคาร การป้องกันที่ได้ผลดีที่สุด คือการระบายน้ำใต้ดินออกจากบริเวณส่วนโครงสร้างตอน ล่างของอาคาร ให้เร็วหรือมากที่สุดก่อนที่น้ำจะไหลท่วมส่วนล่างของอาคาร วิธีการหนึ่งคือ การทำรางระบายน้ำไว้โดยรอบอาคารส่วนล่าง ที่ก่อสร้างไว้ในบริเวณ พื้นที่ต่ำ แนวทางการพิจารณาการออกแบบ คือ

แก้ที่สาเหตุ คือ ไม่ทำห้องใต้ดิน หรือ ขจัดน้ำโดยรอบบริเวณออกไป
ป้องกัน คือ ทำโครงสร้างเป็น Impermeable materials เช่นทำโครงสร้าง เป็น คอนกรีตเนื้อเดียวกัน (Momolithic or Massive structure) โดยมีสารผสมกันซึม ในเนื้อคอนกรีต และโครงสร้าง ปราศจากรอยต่อใดๆ หรือการทำ Membrane water proofing คือการฉาบผิวหรือบุแผ่นกันซึม ตรงผิวส่วนนอกของโครงสร้าง โดยรอบทั้งหมด และมีการป้องกันความเสียหายของผิวที่ฉาบนี้ด้วย
ซ่อมแซม คือ วิธีเคลือบผิว Surface coatings ตรงบริเวณที่เสียหาย เช่นกำแพง ก่อนทำต้องให้แห้งจากน้ำเด็ดขาด คือลด hydrostatic pressure ให้หมดก่อน เช่นโดย การสูบน้ำออกไปให้หมด การแก้ไขในกรณีนี้ มักใช้วิธีการที่เรียกว่า Water proofing tanking เป็นการทำผนังสองชั้นโดยมีสารฉาบผิวกันน้ำอยู่ระหว่างกลาง การซ่อมแซม เป็นการแก้ปัญหาที่สิ้นเปลืองกว่า แนวพิจารณาการป้องกัน หรือการแก้ ที่สาเหตุ
หมายเหตุ-

การออกแบบโครงสร้างใต้ดิน ต้องคำนึงถึงแรงดันของดิน และแรง ดันของน้ำ ใต้ดิน แรงดันของดินที่อยู่บริเวณเหนือระดับน้ำใต้ดิน จะมีค่าประมาณ 240 ปอนด์/ฟุต ในกรณีที่มีน้ำผสมอยู่ในดินด้วยนั้น แรงดันของดินจะลดลง จาก 240-100 ปอนด์/ฟุต แต่จะมีแรงดันของน้ำเพิ่มขึ้นแทน
แรงดันของน้ำใต้ดิน เกิดขึ้นตามกเกณฑ์ความสมดุลป์ทางฟิสิกส์ (Hydrostatic law) ซึ่งพยายามรักษาระดับและปริมาณน้ำให้มีความสูงต่ำสม่ำเสมอกัน ตลอดแนวที่ไหลผ่าน แรงดันนี้มีค่าประมาณ 62 ปอนด์/ฟุต เป็นแรงยกน้ำ ให้ไหล สูงขึ้นจนถึงระดับน้ำใต้ดินปกติ แรงดันนี้ จะมีปริมาณสัมพันธ์กับความลึกของอาคาร และสร้างปัญหาการยกลอยตัวของอาคาร
สรุปการควบคุมและป้องกันน้ำสำหรับโครงสร้างส่วนล่าง

Water exclusion ลดปริมาณน้ำ เพื่อลดปริมาณความดันของน้ำที่จะทำให้เกิด Capillary action โดยการระบายน้ำออกบริเวณรอบอาคาร ขจัดหรือแปรสภาพ ดิน เหนียว และสารเคมีผสมในดิน ที่อาจมีผลทำให้เกิด ความเสียหาย ต่อโครงสร้าง ส่วนล่างของอาคารได้
Damp-Water proofing systems การออกแบบระบบ การป้องกัน ต้องคำนึง ถึงความเหมาะสมของการใช้งาน และงบประมาณการก่อสร้าง ชนิดของการ ป้องกันน้ำอย่างเดียว หรือชนิดป้องกันน้ำและความชื้นทั้งสองอย่าง
ชนิดของระบบการป้องกันน้ำหรือความชื้น มีดังนี้คือ

Integral water proofing โดยการใช้ความหนาของวัสดุ Monolithic structure หรือเพิ่มคุณสมบัติวัสดุเป็น Impervious surface การแก้ปัญหาในกรณีนี้ เมื่อ ปริมาณ น้ำและความชื้นไม่มากนัก
Drained water system โดยการทำกำแพงสองชั้น เว้นช่องว่างตรงการ เพื่อยอมให้ น้ำและความชื้นผ่านกำแพงชั้นนอก แล้วจึงจัดการขจัดออก ก่อนที่ จะเกิดความเสียหายกับกำแพงชั้นใน หรือการทำ Sump floor เป็นราง หรือบ่อ รวมน้ำไว้แล้วระบาย ออกอย่างต่อเนื่อง เพื่อลดปริมาณน้ำให้น้อยจน ไม่ก่อให้เกิดผลเสียหายต่ออาคารได้
Tanking systems เป็นการสร้างระบบการกันน้ำโดยรอบห้องใต้ดิน ทั้งพื้น เพดาน และกำแพงทุกแห่งโดยรอบ อาจเรียก Water proofing membranes system แยกออกเป็นสองลักษณะ คือ
3.1- External membrane ทำระบบการกันน้ำและความชื้น ตรงส่วนที่ชิดกับผิวดิน ต้อง กระทำพร้อมการก่อสร้างส่วนโครงสร้างห้องใต้ดิน เป็นการป้องกันอย่างจริงจัง กระทำบริเวณด้านนอกห้องใต้ดิน

3.2- Internal membrane เป็นการทำการป้องกัน ตรงส่วนด้านในของห้องใต้ดิน เหมาะกับการซ่อมแซม เมื่อมีปัญหาเกิดขึ้นภายหลัง Condensation, Capillary action or Rising damp

กรณีความเสียหาย อันเกิดจากปรากฏการณ์ของธรรมชาติ

ก. การกลั่นตัวเป็นหยดน้ำ Condensation

สำหรับอาคารพักอาศัย ปรากฏการณ์นี้ มักเกิดภายในเนื้อของวัสดุก่อสร้าง หรือบริเวณภายในของโครงสร้างส่วนต่างๆของอาคาร ความหมายและกลไกของ Condensation คือ การเปลี่ยนแปลงของไอน้ำในอากาศ กลายเป็นหยดน้ำ เริ่มเกิดขึ้น เมื่อปริมาณของไอน้ำในอากาศเพิ่มขึ้น จนมีปริมาณเท่ากันกับ ปริมาณของไอน้ำที่อุณหภูมิในขณะนั้น (dew point) สามารถพยุงให้ลอยตัวอยู่ได้ เมื่อปริมาณไอน้ำเพิ่มมากขึ้น ปริมาณส่วนเกินที่อากาศไม่สามารถพยุงไว้ได้นั้น ก็จะแปรสภาพเป็นหยดน้ำ บรรยากาศขณะนั้นจะเย็นลง จนมีอุณหภูมิในระดับต่ำกว่า dew point (อุณหภูมิ ในระดับสูงสุด ที่อากาศสามารถพยุงไอน้ำไว้ได้)

กรณีการเกิดของ Condensation กล่าวโดยสรุป เกิดขึ้นเมื่ออากาศที่อุ่นร้อน กระทบกับผิววัสดุที่เย็นกว่า ทำให้อากาศส่วนที่อุ่นร้อนนั้นเย็นลง ต่ำกว่า dew point หรือ มีการเพิ่มปริมาณไอน้ำเกินขีดจำกัดดังกล่าว ส่วนเกินที่เกิดขึ้น จึงกลายเป็นหยดน้ำ เพราะเหตุที่ว่าอากาศเย็นไม่สามารถพยุงไอน้ำในอากาศ ได้มาก เท่ากับอากาศที่อุ่น หรือร้อนกว่า อากาศที่พร้อมจะแปรสภาพ (saturated) เมื่อมีความสามารถ พยุงปริมาณไอน้ำไว้ได้สูงสุดในระดับอุณหภูมิหนึ่ง ระดับอุณหภูมินี้ คือ dew point หากมีการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิของอากาศ กล่าวคือ เมื่ออากาศที่ยังไม่ saturated เย็นลงจากกรณีใดๆก็ตาม จนถึงระดับที่อากาศพร้อมแปรสภาพ หรือ เป็น saturated air (คืออากาศที่มีค่าความชื้นสัมพัทธ์ 100%) อุณหภูมิระดับนั้นเรียกว่า dew point ปริมาณอากาศที่เย็นลงต่ำกว่า dew point มากเท่าไร ก็จะมีผลต่อปริมาณการเกิด Condensation มากขึ้นเท่านั้น

การป้องกันน้ำและไอน้ำสำหรับอาคาร

(from Cowan, Henry J. and Peter R. Smith, The Science and Technology of Building Materials, "Exclusion of Water and Water Vapor", New York: Van Nostrand Reinhold Company, 1988, pp.29-37.)

การแทรกซึมของน้ำ สามารถนำความเสียหายให้ กับอาคาร และผู้อยู่อาศัย ได้มากมาย การเลือกวัสดุก่อสร้าง และการออกแบบรายละเอียด ในส่วนงานก่อสร้าง ของ อาคารมีส่วนสำคัญอย่างมาก ในการป้องกันน้ำสำหรับอาคาร ความรู้เรื่อง ลักษณะของอากาศเฉพาะแห่งของที่ตั้งอาคาร ก็สำคัญเช่นเดียวกัน เพราะจะมีผลต่าง ในการแทรกซึมของน้ำเข้าสู่อาคาร อันเกิดจากปัจจัยของอุณหภูมิและความชื้นรวมกัน เป็นเหตุของการเกิด condensation ขึ้นในส่วนต่างๆ ของอาคารวัสดุที่มีเนื้อพรุน (porous materials) สามารถใช้กับอาคาร ได้ในสถานที่ ที่มีการแทรกซึม ของความชื้นค่อนข้างช้า ส่วนวัสดุที่มีผิวหรือเนื้อแน่นสูงๆ (impermeable materials) จะเหมาะใช้ในส่วนที่กันน้ำแทรกซึม เช่น ใช้รองรับตรงส่วนต่อ ของหลังคา (flashing) หรือ เป็นส่วนหนึ่ง ของชั้นผิวของหลังคา (roof membranes) หรือ เป็นชิ้นส่วนป้องกันน้ำและความชื้นโดยตรง (damp-proof courses) ใน ส่วนที่สำคัญต่างๆ ของอาคาร

วัสดุที่ใช้ป้องกันไอน้ำ (vapor barriers) เป็นสิ่งจำเป็นในการจำกัดการ ซึมผ่านของไอน้ำ หรือละอองน้ำในอากาศ ภายในอาคาร ที่จะแทรกซึม ไปรวมตัวกันอยู่ ในฉนวนของกำแพง หรือหลังคา หลังคา และ กำแพง ต่างๆ สามารถที่จะออกแบบ ให้กั้นการแทรกซึม หรือไหลผ่านของน้ำได้ ในสถานที่ ที่มีลมพัดแรงและความกดดันของอากาศสูง จำเป็นที่ต้องพิถีพิถัน ในการออกแบบป้องกันน้ำสูง โดยเฉพาะตรงบริเวณที่เป็นรอยต่อ ของผืนหลังคา หรือผนังกำแพงต่างๆ จะต้องแยกการพิจารณา ในการออกแบบ ปริมาณของ น้ำฝนและแรงดันของน้ำจากกันไม่มีวัสดุใด ที่จะคงสภาพ เหมือนเดิมตลอดไป ในแง่ความคาดหวังต้องการให้มีอายุการใช้งาน เท่ากับการใช้อาคารเท่านั้น แต่ตามสภาพที่เป็นจริงแล้ว วัสดุบางชนิด เช่นเหล็ก หรือ โลหะ มักจะเสื่อมสภาพเร็ว เพราะสาเหตุการสึกกร่อนของเนื้อวัสดุเอง ส่วนวัสดุที่อ่อน ตัวง่าย เช่น แผ่นยางทึบ หรือใส ก็มักเปราะแยก และขาดได้ในเวลาอันควร ผิวที่มีการเคลือบ สารเคมี หรือ สี ก็มีความจำเป็นต้องมีการเคลือบผิวใหม่เสมอ การเลือกใช้วัสดุ

ในการออกแบบอาคารต่างๆ จำเป็นต้องมีการพิจารณาถึง ปัญหาในการดูแลบำรุงรักษา และการเปลี่ยนซ่อมแซม ในอนาคตด้วยข้อมูลของอากาศ สำหรับฝนและลม น้ำเป็นสาเหตุสำคัญ ของความเสียหาย ที่เกิดกับวัสดุ และการใช้สอยภายในอาคารรวมทั้งการสร้างความรำคาญและความยุ่งยากต่างๆ ให้กับผู้อยู่อาศัย สาเหตุสำคัญของความเสียหายที่เกิดจากน้ำ คือ น้ำฝน หิมะ (ในประเทศ หนาว) condensation ที่เกิดจากไอน้ำในอากาศ (ในประเทศร้อนชื้น) และความชื้น ที่มาจาก พื้นดิน การออกแบบอาคาร มีความจำเป็น ที่ต้องทราบข้อมูล ของสภาพ อากาศ ในที่ตั้งของอาคารนั้นๆ เพื่อออกแบบป้องกัน ความเสียหายอันเกิดจากสาเหตุดังกล่าว กรมอุตุนิยมวิทยาที่ดี จะให้ข้อมูลที่ละเอียดพอเพียง สำหรับการออกแบบอาคาร ที่ต้องการความรวดเร็ว และมีประสิทธิภาพการพิจารณาเรื่องลมและฝนรวมกัน มีความสำคัญในการออกแบบส่วนของอาคารทางแนวตั้ง เช่น ส่วนของหน้าต่าง ประตู และกำแพงภายนอก ดรรชนีของการไหลเร็วของฝน เป็นผลของข้อมูล ที่มีรายงานเป็นประจำปี ของค่าเฉลี่ยปริมาณน้ำฝน และความเร็วของลมทั้งปี แรงลม สามารถทำให้น้ำฝน ไหลลงล่างเร็วต่างกัน และไหลย้อนขึ้นได้ในบางส่วนของอาคาร เพราะเหตุการขวางทางลมของส่วนอาคารนั้น แรงดันของน้ำฝน อันมีลมเป็นเหตุ มีอัตรามากน้อย ขึ้นอยู่กับพื้นที่ผิวอาคาร และความสูงของอาคาร อาคารสูงๆจะมีแรงดัน ของน้ำฝนมากกว่า อาคารที่เตี้ยกว่า อาคารเตี้ยมักออกแบบพวกรอยต่อ ด้วย flashing เพื่อป้องกันน้ำฝนไหลลงตามแรงดึงดูดของโลกปกติ แต่อาคารสูง ที่ตั้งเด่นมีบริเวณโดยรอบ พวกรอยต่อต่างๆ ต้องออกแบบเป็นการยึด หรืออุดแน่น (sealed joints or drained joints)

ข. การดูดซับน้ำโดยวัสดุของอาคาร (capillary action & risingn damp)

การไหลผ่าน ของน้ำเข้าสู่ผิวอาคาร เป็นปรากฏการณ์ที่เรียก capillary action คือ เป็นการดูดซับน้ำเข้าเนื้อวัสดุ ยิ่งเนื้อวัสดุมีความพรุนมาก ก็ยิ่งดูดซับน้ำได้มากกว่า วัสดุที่มีความพรุนน้อย ทิศทางการไหลของน้ำ เป็นไปได้ทุกทาง ทั้งแนวตั้งและ แนวนอน อาจ ย้อนแรงดึงดูดของโลกได้ เป็นผลที่เกิดจากแรงดูดซึมที่ผิววัสดุ ทำให้น้ำไหลขึ้น เป็นแนวยาวแคบ เหมือนแนวท่อน้ำเล็ก ในระหว่างที่ว่างของเนื้อวัสดุทุกชนิด ในการก่อสร้างอาคารcapillary action สามารถเกิดขึ้นได้ ระหว่างผิววัสดุสองชนิด ประกบกัน หรือวัสดุทุกอย่างที่มีเนื้อพรุน วัสดุพวก โลหะ เหล็ก พลาสติก และกระจก จัดเป็นวัสดุที่ไม่อมความชื้น (impervious materials) แต่พวก ไม้ และอิฐ มีเนื้อพรุนที่ มีรูเหมือนท่อเล็กๆต่อเนื่องถึงกัน จึงทำให้ สามารถ ดูดซึมน้ำ หรือความชื้น ได้โดยปรากฏการณ์ของ capillary action อิฐที่แห้ง จนปลอดความชื้น สามารถ อมความชื้นหรือน้ำไว้ได้ 10-25 เปอร์เซ็นต์ ของมวลอิฐก้อนนั้น วัสดุที่ใช้เป็นฉนวน เช่น โฟม หรือพลาสติก มีเนื้อที่ไม่มีรูพรุนต่อเนื่องกัน (impervious or closed pores) จึงไม่มีการดูดซึมน้ำ และความชื้น จำนวนของน้ำในเนื้อวัสดุแต่ละชนิด ในเวลาขณะใดขณะหนึ่ง เป็นผลมาจากความสมดุลที่แปรเปลี่ยน ตามอัตราของ ความสามารถ ในการดูดซึมน้ำ และอัตราการระเหยของน้ำ ในอุณหภูมิของอากาศ ขณะนั้น

การไหลซึมของความชื้น ถูกควบคุมโดยปัจจัยต่างๆ ดังต่อไปนี้ คือ

การป้องกัน ผิววัสดุที่พรุน จากการโดนน้ำและความชื้น
การอุดปิด ช่องว่าง รอยต่อ หรือรอยแตกของวัสดุ ด้วยสารหรือวัสดุกันน้ำ (waterproof sealant)
การปิดช่องว่างที่มีขนาดกว้าง หรือทับแนวรอยต่อ ที่พอเพียงสามารถ ป้องกัน การไหลผ่านของน้ำได้
วัสดุอาคารที่ ออกแบบให้ทั้งสองด้านเปิดสู่อากาศ และมีการถ่ายเทของอากาศ ได้ทั้งสองด้าน ผิวด้านที่แห้งกว่า ก็จะทำให้มีการระเหย ของน้ำผ่านเนื้อวัสดุ ได้เร็วขึ้น วัสดุคอนกรีต เป็นกรณีพิเศษ ถ้าเป็นคอนกรีตที่แข็งแรง (high-strength concrete) เนื้อคอนกรีตแบบนี้ จะมีรูพรุนที่ไม่ต่อเนื่อง จึงสามารถกันน้ำได้ดีกว่า คอนกรีตในงานทั่วๆไป คอนกรีตในงานโครงสร้างทั่วไป มักมีรอยแตกที่ผิว เล็กน้อย เสมอ เพราะเหตุจาก แรงดึงหรือแรงเค้นในการรับน้ำหนัก แต่เมื่อมีการแต่งผิว ก็จะขจัดปัญหาการไหลซึมของน้ำได้มาก แต่พึงระวังไม่ให้น้ำ ไหลผ่านไปถึง เหล็กเสริม ภายในเป็นอันขาดรอยต่อทุกแห่ง โดยเฉพาะ ที่ใช้ภายนอก ต้องมีการกันน้ำทุกแห่ง
การป้องกันความชื้น และน้ำที่รอยต่อต่างๆ หลักการป้องกัน คือไม่ยอมให้น้ำสามารถผ่าน (sealant) และทำการเปลี่ยนทิศ ทางการไหลผ่านของน้ำ (flashing) รอยต่อของวัสดุต่างชนิดกัน หรือมีองค์ประกอบ ร่วมที่ต่างกัน มีโอกาสทำให้เกิดการแทรกซึมของน้ำได้ง่าย พวกวัสดุเช่น แผ่นกระ เบื้อง หรืออิฐ รอยต่อมักเป็น แบบซ้อนทับกัน หรือ self-sealing รอยต่อ ที่ต้องพิจารณาการกันความชื้นเป็นพิเศษ คือ รอยต่อของของชิ้นส่วนขนาดใหญ่ และ มีปัญหาอื่นร่วม เช่น การทรุดตัวของอาคาร การไหวตัวที่เกิดจากการสั่นสะเทือน หรือขยายตัว อันเนื่องจากการเปลี่ยนแปลงของอุณหภูมิ ในกรณีที่มีลมพัดแรง รอยต่อมักกระทำ ทั้งแนวนอน และแนวตั้ง การต่อมักเป็นแบบเลื่อมล้ำ และเป็นการป้องกัน ชนิด เปลี่ยนทิศทางให้น้ำไหลออกพ้นบริเวณรอยต่อ การกระทำจึงมักใช้วิธีการ sealant และ flashing ทั้งสองวิธีในรอยต่อแห่งเดียวกัน บางกรณี ทำรอยต่อเป็นร่องระบายน้ำ ตรงความหนาของกำแพง วิธีอุดรอยต่อ แบบ sealant หรือ sealed joints มักเป็นรอยต่อของผนังบางๆ เช่น ผนังกระจก

ส่วนการป้องกันแบบ flashing หรือ drained joints มักกระทำกับรอยต่อ พวกผนังคอนกรีตสำเร็จรูป ที่ค่อนข้างหนา flashing ที่สอดแทรกระหว่างก้อนอิฐที่ก่อของกำแพง หรือส่วนต่อชนของหลังคา ต้องคำนึงถึงการเปลี่ยนแปลงอุณหภูมิ โดยเฉพาะ ที่เป็นแบบ cover flashing จะมีผล รวดเร็วกว่าแบบ built-in flashing และต้องพึง ระวังเรื่องกรด ด่าง ที่เจือปนอยู่ใน น้ำ จะทำความเสียหาย สึกกร่อน ต่อวัสดุที่เป็น flashing ได้ง่าย วัสดุที่นิยมใช้ทั่วไป คือ แผ่นตะกั่ว แผ่นเหล็กอาบสังกะสี หรือ แผ่นอลูมิเนียม เป็นต้น เพราะสะดวก ในการทำงาน ทนต่อแรงเค้น ที่เกิดจากการ ขยายตัว กรณีป้องกันการสึกกร่อน จาก ประจุไฟฟ้า อาจเลือกใช้ แผ่นทองแดง แทนวัสดุดังกล่าว ส่วนที่ต้องการ ความทน ทานมาก และผลทางความสวยงาม โดยไม่คำนึงถึงราคาที่แพงกว่า แผ่นสเตนเลส เป็นอีกวัสดุที่นิยมใช้เป็น flashing ในการป้องกันน้ำและความชื้น การป้องกันน้ำ ที่รอยต่อ แบบอุดยาแนวรอยต่อ (sealant) ในกรณีรอยต่อที่ไม่มีการขยับตัว การอุดยาแนวทำได้ง่าย โดยใช้สาร สังเคราะห์ที่มีความเหมาะสม กับวัสดุทั้งสองชนิดที่เชื่อม ต่อกันอุดยาปิดรอยต่อ เช่นการใช้ยางเหลว หรือ putty อุดตรงรอยต่อของกระจก กับกรอบไม้ หรือ โลหะ สำหรับประตู และหน้าต่างกระจก เป็นต้น ในกรณีรอยต่อ ของแผ่นกระจกใหญ่ๆ หรือโครงโลหะที่ประกอบกันเป็น ผนังกระจก (curtain wall)

คุณสมบัติของ sealant จำเป็นต้องสนองต่อปัญหาการขยายตัว และการไหวตัวของผนังกระจกนั้น เพื่อป้องกันน้ำที่รอยต่อต่างๆ วัสดุเป็นสารสังเคราะห์จำพวก neoprene หรือ silicone ที่ฉีดอัดที่รอยต่อด้วยแรงดันพิเศษ แทนการอุดยาธรรมดา ส่วนการ เชื่อมรอยต่อของแผ่นกระจกด้วยกัน จะใช้สารสังเคราะห์เหลว ที่ให้ความ แข็งแรงพอเพียง และปรับตัวเอง กับแรงดันได้เช่นเดียวกับ วัสดุกระจก ฉีดอุด แนวรอยต่อไม่ว่าจะเป็นการเชื่อมรอยต่อแบบใด sealed joint แบบง่าย sealant แบบที่ ขยับตัวเองได้ แบบ flashing หรือ แบบ drained joint การเลือก ขึ้นอยู่กับชนิด และ ความหนาของแผ่นวัสดุที่มาต่อชนกัน จนเกิดเป็นรอยต่อ จะต้องมีปริมาณพอเพียงต่อการขยับ หรือขยายตัวของรอยต่อ คุณสมบัติของสารที่ใช้เป็น sealant นั้นต้อง กำหนดในทดลองใช้ในสภาวะแวดล้อมที่เป็นจริง มากกว่าการกำหนด คุณสมบัติ ในห้องปฏิบัติการณ์ โดยเฉพาะค่าเปลี่ยนแปลง ของช่องว่างรอยต่อ ที่เกิดจากการยืดหดตัว เป็นข้อสำคัญในการกำหนดปริมาณของ sealant ให้พอเพียง การป้อง กันแรงดันของไอน้ำ ไอน้ำมีปะปนอยู่ในอากาศทั่วไป จะมีปริมาณแปลงแปลง เมื่อมีปรากฏการณ์ของ condensation เกิดขึ้น ซึ่งเป็นการเปลี่ยนแปลง ของอุณหภูมิในอากาศ ลดต่ำกว่าขีดอุณหภูมิสูงสุด (dewponit) ที่สามารถอุ้มไอน้ำในอากาศไว้ได้

ปริมาณไอน้ำที่คงอยู่ในอากาศขึ้นอยู่กับ ลักษณะของบรรยากาศ ภายในอาคาร จะขึ้นอยู่กับอัตราของความชื้นในอากาศ และอัตราของการถ่ายเทอากาศภายในอาคาร ด้วย เพราะ มีกิจกรรม มากมาย เกิดขึ้นในอาคาร เป็นส่วนหนึ่งที่เพิ่มไอน้ำในอากาศ ดังนั้น แรงดันของไอน้ำในอากาศภายในจึงสูงกว่าภายนอกอาคารเสมอ ยกเว้นในกรณีที่มีการใช้เครื่องทำความชื้น และความเย็นภายในอาคารไอน้ำจะเคลื่อนไหวเร็ว เมื่อผ่านรูพรุนของเนื้อฉนวน ถ้าเราพิจารณาแนวทางเคลื่อนตัวของอุณหภูมิ และแรงดันของไอน้ำผ่านภาพตัดของกำแพง เราจะพบว่าแนวทิศทาง การเคลื่อนตัวของอุณหภูมิ จะมีแนวลาดชั้นสูงขึ้นที่หน้าตัดของฉนวนของกำแพง และแนวเคลื่อนตัว ของแรงดันไอน้ำ จะมีความลาดชันสูงขึ้นที่ชั้นแทรกซึมของไอน้ำ (permeable layer) ของกำแพง ตราบใดที่แรงดันไอน้ำลดลงเร็วกว่าอุณหภูมิ ก็จะไม่มีส่วนใด ของ กำแพงที่อุณหภูมิต่ำกว่า dew point กำแพงก็ไม่เกิดความเสียหาย จากการเกิด ของ condensation ในการทำฉนวนของกำแพง จึงควรเพิ่มผิวของวัสดุกันแรงดันไอน้ำ ภายในฉนวนของกำแพงไว้ด้วยวัสดุป้องกันไอน้ำ เช่น แผ่นอลูมิเนียมฟอย แผ่น พลาสติก ทั้งผลิตเป็นแผ่นเฉพาะหรือปิดตรงผิวด้านใดด้านหนึ่ง รวมกับแผ่นฉนวน กันความร้อน หรือแผ่นผนังสำเร็จรูปอื่นๆสีทีผสมสารพลาสติก เมื่อทาผิวผนังแล้ว เกิดผิวมันเช่นการเคลือบผิวติดเป็นชั้นแผ่นฟิล์มบางติดผนัง ก็จะเพิ่มคุณสมบัติ ของ กำแพงให้เป็น impermeable material ป้องกันแรงดันไอน้ำ และความชื้นได้ในระดับหนึ่ง วัสดุที่ทำ sarking เพื่อป้องกันน้ำ หากวางห่างกับฉนวนมาก จะไม่ช่วยในแง่การป้องกันแรงดันไอน้ำได้ดีกว่าการวางติด หรือรวมเป็นส่วนหนึ่ง ของ วัสดุฉนวน ในการป้องกันการสะสมของความชื้น ช่องว่างระหว่างแผ่น sarking กันแผ่นฉนวน ควรมีการระบายอากาศได้ การป้องกันน้ำสำหรับอาคาร ก็เปรียบ เหมือนตัวเราเอง ป้องกันน้ำเมื่อต้องยืนตากฝน การใช้ร่ม เสื้อกันฝน และรองเท้าบูทยาง ก็เป็นการป้องกันน้ำตามแต่กรณี อาคารที่มีหลังคาคลุมเหมาะสม ก็ทำหน้าที่ป้องกันน้ำ เหมือนร่ม แต่จะไม่ป้องกันน้ำที่เกิดจากแรงดันของลม การกระทำผิวรอบอาคาร ให้มีคุณ สมบัติ permeable และมีการอุดยารอยต่อต่างๆ ก็เหมือนการสวมเสื้อกันฝนเพิ่มขึ้น และเมื่อฝนหยุดตก พื้นดินก็ยังคงกักเก็บน้ำ และความชื้นเอาไว้ การป้องกันกำแพง ส่วนล่างของอาคาร จากปัญหา rising damp ก็จะเกิดประโยชน์ เหมือนตัวเราสรวมรองเท้าบูทยาง ยืนบนดินที่เปียกชุ่มน้ำ ข้อแตกต่างในการเปรียบเทียบนี้ ที่สำคัญคือ วัสดุที่ใช้ในการป้องกันน้ำ สำหรับอาคาไม่เหมือนการเปลี่ยนเสื้อผ้าของคน ตามฤดูกาล วัสดุที่ใช้ป้องกันน้ำ ต้องตอบสนองการป้องกันความร้อน แรงดันของไอน้ำ และความชื้นด้วย และการเลือกใช้ต้องควบคุมคุณสมบัติ ให้มีประสิทธิภาพนานเท่าอายุของอาคาร และทนต่อความสึกหรอต่างๆที่เกิดจากการ เปลี่ยนแปลง อุณหภูมิ ที่เกิดกับอาคาร ตลอดเวลาหรือแม้กระทั่งต้องมีกำลังป้องกันการทรุดตัวของอาคาร และแม้กระทั่ง ต้องก่อให้เกิดความสวยงามกับลักษณะอาคารทั้งหมดด้วย

เอกสารอ้างอิงในห้องสมุดคณะฯ

Cowan, Henry J. and Perter R. Smith, The Science and Technology of Building Materials, "Exclusion of Water and Water Vapor", New York: Vantrand Reinhold Company, 1988
690/g 771 d Damness Building
690/f 755 m Mitchell's Building Construction
690/i 829 p Problems in Building Construction
690/c 559 c Construction Technology
690/r 839 l Light Cladding of Building
691/s 657 m Materials of Construction
691/a 222 b Building Failures, A Guide to Dianosis, Remedy and Prevention
691/a 222 m Matertials for Building
691/h 949 b Building Construction
693.83/-537 i Insulation of Building
696/c 874 e Environmental Systems
<1>

หน้านี้เป็นหน้าสุดท้าย

E-Learning

 


เรียบเรียงจาก...Why is e-learning important?
By Jane Knight, e-Learning Centre..http://www.e-learningcentre.co.uk/articles.htm

ทำไมต้อง e-learning?

นี่คือบทความที่เขียนให้นิตยสารสำหรับโรงเรียน ประจำเดือนพฤศจิกายน2003

ทำไม e-learning จึงมีความสำคัญ?

เพราะมันเป็นการตกผลึกของรูปแบบการเรียนรู้ในศตวรรษนี้ ...สำหรับนักเรียน นิสิต และสำหรับลูกจ้างที่ต้องการอบรม หรือผู้ต้องการพัฒนาอาชีพ เช่น แพทย์ พยาบาล และครู เป็นต้น อันที่จริง ก็สำหรับทุกคนที่ต้องการเรียนรู้บางอย่างทั้งเป็นแบบทางการหรือเป็นแค่พื้นฐานธรรมดาทั่วไปก็ได้

นี่คือ … แปดแนวทางที่ข้าพเจ้าเห็นว่าทำไม e-learning จึงเป็นการปฏิวัติการเรียนรู้ที่สำคัญและพร้อมที่จะสาธยายแนวทางเหล่านี้ ข้าพเจ้าได้สมทบตัวอย่างของ e-learning เป็นบริการฟรีทางอินเทอร์เนทไว้ด้วย เพียงแค่คลิ๊กลิ้งค์ไปยังหน้าใหม่เท่านั้นเอง

e-Learning หมายถึง… ท่านไม่ต้องเสียเวลาเดินทางไปเข้าห้องเรียนเหมือนปรกติ ท่านสามารถเลือกเวลาที่ท่านสะดวกเมื่อไรที่ท่านต้องการ เวลากลางวันหรือกลางคืนก็ได้ ที่บ้าน ที่ทำงาน หรือในบริเวณห้องสมุด สำหรับนักเรียนแล้ว นี่เป็นสิ่งใหม่ มีความยืดหยุ่นในโลกของการเรียนรู้ ซึ่งแต่ก่อนเป็นการปิดโอกาส เพราะปัญหาไร้ความสามารถ หรือปัญหาต่างๆที่เกิดจากครอบครัว หรือเป็นเพราะสิ่งที่ท่านอยากเรียนอยู่ไกลค่อนโลก ต่อแต่นี้ไป จะไม่มี่ปัญหาทางภูมิศาสตร์ เพราะ e-learning นำการเรียนรู้มาสู่คน ไม่ใช่นำคนไปสู่การเรียนรู้ ดังตัวอย่างเช่น ถ้าท่านอยากฟังการบรรยายที่วิทยาลัย Gresham ในเมืองลอนดอน ท่านไม่ต้องไปที่นั่น แต่สามารถฟังได้โดยผ่านทางอินเทอร์เนทในที่ๆท่านอยู่ขณะนั้น หรือหากพลาดเวลาก็สามารถฟังผลการบันทึกได้ตลอดเวลา เช่น การบรรยายของศาสตราจารย์ Frank Close เรื่อง " A Giant Leap from Big Bang to Big Ben" ที่ผ่านมาในปี ค.ศ. 2000
e-Learning หมายถึงการเรียนที่ไม่ต้องเบื่อหน่ายกับการต้องนั่งเผชิญหน้ากับครูในห้องเรียนอีกต่อไป หรือการเรียนรู้โดยการบอกกล่าว e-learning ทำให้การเรียนรู้น่าสนใจ เพราะเน้นถึงการโต้ตอบกัน หรือ "เรียนรู้โดยการกระทำ" ดังเช่น ถ้าท่านต้องการเรียนเรื่องของการพิมพ์ ท่านสามารถทดลองทำผ่านการนำเสนอแบบโต้ตอบกันได้ทันทีทันใด เช่น ตัวอย่างของ "What is a print", from MoMA the (Museum of Modern Art) ในเมืองนิวยอร์ค ท่านไม่ได้เพียงแค่เฝ้าดูการพิมพ์อย่างไรเท่านั้น แต่ท่านสามารถเข้าไปมีส่วนร่วมด้วยตัวท่านเองด้วย
e-Learning ทำให้การเรียนตื่นเต้น มีส่วนร่วม และบังคับให้โต้แย้งและใช้เหตุผล วิชาที่ยากและน่าเบื่อ สามารถทำให้ง่าย ให้มีความน่าสนใจมากขึ้น และเป็นที่ชื่นชอบ e-learning ด้วย ดังตัวอย่าง เข่น ถ้าวรรณกรรมเช็คสเปียร์เป็นที่เย็นชาสำหรับท่าน ลองดูความมีชีวิตชีวาในวิดีทัศน์เรื่อง "วิชาเช็คสเปียร์ที่เปลี่ยนแปลง" ในห้องเรียนทางเคเบิล หรือถ้าท่านพบว่ามันยากที่จะเข้าใจแนวคิดชนิดของเลือด   ฉะนั้น ลองเล่น "เกมชนิดของเลือด" จากพิพิธภัณฑ์ทางอิเล็คโทนิคของสถาบันโนเบล ท่านก็สามารถช่วยชีวิตเหยื่อผู้ประสบอุบัติเหตุทางรถยนต์ได้ ด้วยการให้เลือดพวกเขาอย่างถูกต้อง
การเรียนเป็นกิจกรรมทางสังคม และ e-learning หมายถึง การได้รับประสบการณ์ในการเรียนที่มีพลังและความอุตสาหะไม่แค่จากเนื้อหาเท่านั้น แต่จากประโยชน์ของสังคมออนไลน์ และเครือข่ายทั้งหลายด้วย เพราะจะกระตุ้นให้ผู้เรียนสื่อสารกัน ร่วมมือและแลกเปลี่ยนความรู้แก่กันและกัน โดยวิธีนี้ e-Learning สามารถสนับสนุนให้เกิด
e-Learning ให้อำนาจผู้เรียนบริหารจัดการการเรียนของตนเอง ในความเหมาะสมของแต่ละคน เราแต่ละคนเรียนในวิธีการที่แตกต่างกัน การอ่าน การเฝ้าดู การสืบหา การค้นคว้า การปฏิสัมพันธ์ การทำงาน การสื่อสาร การร่วมมือ การปรึกษา แลกเปลี่ยนความรู้และประสบการณ์ e-Learning หมายถึง ผู้เรียนสามารถเข้าถึงแหล่งความรู้ ทั้งทรัพยากรมนุษย์และวัตถุ ได้อย่างกว้างขวาง โดยวิธีนี้ แต่ละผู้เรียนสามารถมีความอิสระและมีประสบการณ์เอกเทศ เพราะเขาเหล่านั้นเข้าถึงการเรียนรู้ที่ดีที่สุดสำหรับตนเอง 
e-Learning ยังช่วยผสมผสานการเรียนกับกระบวนการทำงานเข้าด้วยกัน ในรูปขององค์กร ซึ่งเริ่มตระหนักถึงการเรียนที่ไม่เพียงแค่เกิดขึ้นในห้องเรียนเท่านั้น จริงๆแล้ว 70% ของการเรียนทั้งหมดเกิดขึ้นขณะที่แต่ละคนเริ่มการงานอาชีพ ซึ่งไม่ใช่การฝึกอบรมหรือศึกษาอย่างเป็นทางการ แต่เรียนกันในทุกๆวันของชีวิตการทำงาน ในฐานะลูกจ้างที่ต้องกระทำเป็นกิจวัตร..ค้นหาข้อมูล อ่านเอกสาร สนทนากับผู้ร่วมงานและคนอื่น เป็นต้น กิจกรรมการเรียนแบบไม่เป็นทางการเหล่านี้ e-learning สามารถสนับสนุนและกระตุ้นได้ในแต่ละองค์กร ฉะนั้น ถ้าพนักงานต้องการคำตอบสำหรับปัญหาต่างๆที่รวดเร็ว เขาไม่ต้องการตำราและสถานที่เพื่อการเรียนสามชั่วโมงต่อสัปดาห์ในอนาคต แต่เขาต้องการคำตอบเดี๋ยวนี้และอย่างรวดเร็วด้วย ดังนั้น ทางออกที่สั้นและง่าย หาได้จาก "คำแนะนำทันที" (วิดีทัศน์ยาวสามนาทีจากบ้านเลขที่เก้า) หรือ "สิบนาทีของ JEDlets" เป็นสิ่งที่เหมาะสมสำหรับองค์กรที่ต้องการการเรียนรู้
การเรียนรู้ย้ายเริ่มจากห้องเรียนไปสู่เครื่องคอมม์แบบตั้งโต๊ะ และเดี๋ยวนี้ไปสู่พีซีแบบพกพาแล้ว เป็นที่รู้กันว่า เรากำลังกลายเป็นเป็นมนุษย์เคลื่อนที่มากขึ้น 50% ของพนักงานเดี๋ยวนี้ใช้เวลานอกสถานที่ทำงานไม่น้อยกว่า 50% ของเวลาทำงาน เราแทบทุกคนเดินทางมากขึ้น (บนรถประจำทาง รถไฟ และเครื่องบิน) ไปเยี่ยมสำนักงานอื่น หรือมหาวิทยาลัยอื่น มีหลักฐานที่พอยืนยันว่า คนส่วนมากอยากใช้ประโยชน์จาก "เวลาที่เสียไป" นี้เพื่อการเรียนรู้ คำว่า m-learning ถูกใช้เพื่ออธิบายประโยชน์ของ พีซีพกพา และโทรศัพท์เคลื่อนที่เพื่อการเรียนรู้ พีซีพกพาเป็นเครื่องมือที่มีประโยชน์มากสำหรับผู้เรียน ซึ่งสามารถถ่ายโอนเนื้อหาบทเรียน และนำมาดูได้สะดวก ดังนั้น ถ้าท่านชอบถ่ายโอนตัวอย่างที่ท่านสามารถดูและฟังจากการนำเสนอแบบ PowerPoint บนพีซีพกพา ลองดูบริการของ Presentation Studio Mobile client จาก Webex  หรือมิฉะนั้น ถ้าท่านต้องการดูว่าเนื้อหาการเรียนอย่างเป็นทางการมีการส่งผ่านไปยังปาล์มหรือพีซีพกพาได้อย่างไรบ้าง ลองถ่ายโอนตัวอย่างเนื้อหาจาก Trivantis.
e-Learning ช่วยองค์กรบนความต้องการขั้นพื้นฐาน หลายๆองค์กรรายงานผลการพัฒนาเรื่องเวลาและช่วยเพิ่มประสิทธิภาพทางตลาดของการใช้เวลาได้เร็วขึ้น ลดเวลาการเรียนรู้ หมายถึงประหยัดค่าจ้างพนักงานและ ลดความสูญเสียโอกาส ยังช่วยเพิ่มความพอใจให้ลูกค้าและพนักงาน อันทำให้อัตราการใส่ใจของลูกค้าและพนักงานเพิ่มสูงขึ้น  สำหรับองค์กรทั้งหลาย e-learning มีบทบาทสำคัญในการช่วยเหลือและรักษาความก้าวหน้า และการแข่งขันในตลาดการค้าของพวกเขา
สิ่งเหล่านี้เป็นเพียงเหตุผลบางส่วน ที่ทำไม e-learning กำลังเป็นสิ่งสำคัญเหลือเกิน หากแต่ว่า มีข้อด้อยของ e-learning หรือไม่?   ที่แน่ๆ ท่านต้องมีเท็คโนโลยีขั้นพื้นฐานรองรับ ผู้เรียนต้องการความน่าเชื่อถือจากระบบคอมพิวเตอร์และระบบอินเทอร์เนทด้วย เพื่อให้ได้ผลกำไรจากโอกาสการเรียนรู้ตามสาย และในขอบเขตองค์กรต่างๆ หรือองค์การในรูปบรรษัท สามารถกำหนดได้ว่า e-learning ( และ m-learning) ได้ผลหรือไม่

นี่คือ....ที่มาของศูนย์กลาง e-Learning เกิดขึ้น เพื่อช่วยองค์กรต่างๆที่ต้องการสร้างสรรค์ คำตอบของ e-learning ให้ใช้การได้ ไม่ใช่แค่ตั้งขึ้นและดำเนินไปภายใต้เท็คโนโลยี gee-wizz ล่าสุด แต่เพื่อช่วยให้ประสบความสำเร็จในแง่ความเข้าใจปัญหาการเรียนของ ผู้เรียนของเขา องค์กรของเขาโดยรวม และพื้นฐานทางเท็คโนโลยีที่ติดตั้ง ตลอดจนพวกเขาพร้อมเริ่มก่อตั้งและนำไปปฏิบัติในการแก้ปัญหาการเรียนรู้ที่ได้ผล ถ้าท่านต้องกาค้นหาเพิ่มเติมเกี่ยวกับ e-learning ลองอ่าน การนำทางของเราสำหรับ e-Learning.

เรียบเรียงจาก … e-Learning Centre 1994-2005  All Rights Reserved

Sample of Home Project

Sample of NewOrlean Ontour

Sample of Energy Conservation

เครือข่ายที่เกี่ยวข้อง :

http://www.marcusevansbb.com/elearningevents/
http://www.e-learningcentre.co.uk/
http://www.e-earningcentre.co.uk/services/consultancy.html
http://www.elearningjobcentre.co.uk/
http://www.learningcentre.co.uk/eclipse/Resources/index.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/eclipse/showcase/index.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/eclipse/vendors/index.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/eclipse/conferences/index.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/Bookshop/index.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/pickofthemonth/index.htm
http://www.e-learningcentre.co.uk/articles.htm
http://www.e-learningcentre.co.uk/guide2elearning.htm
http://elearningcentre.typepad.com/whatsnew
http://feeds.feedburner.com/WhatsNewAtTheE-learningCentre.xml%2
http://www.bloglines.com/sub/http://elearningcentre.typepad.com/whatsnew/index.rdf
http://www.e-learningcentre.co.uk/eclipse/about.htm
http://www.google.com/
http://www.amazon.co.uk/exec/obidos/redirect-home/elearningcent-2http://scripts.affiliatefuture.com/AFClick.asp?affiliateID=13764&merchantID=690&programmeID=2266&mediaID=10535&tracking=&url=
http://www.e-learningcentre.co.uk/articles.htm
http://www.gresham.ac.uk/lectureWinReal.asp?vid_ID=7
http://www.moma.org/whatisaprint/flash.html
http://www.ciconline.org/bdp1/
http://www.nobel.se/medicine/educational/landsteiner/index.html
http://www.ninthhouse.com/product/iadvice/
http://www.jedlet.com/demo.asp?lang=EN&cur=USD
http://www.webex.com/downloads_ps.html
http://www.lectora.com/mobile_pda_download.html
http://www.presenter.com/converter.html
http://www.e-learningcentre.co.uk/guide2elearning.htm
Get Flash Plugin Free

Rudi Enos Design

 


Rudi Enos Design Home
Special Structures Lab
Kayam theatre tent
Tensile 1 worlds largest portable venue
Moonburst marquee
Nova Aluminium Frame Structures
Architectural membranes
Membranes - an overview
Design - some thoughts
Exhibitions
Seating Grandstand
Image Catalogue
Projects
Archive Pictures
Rudi Enos Design-Links

Unit 1A Sheffield Technology Park, 60 Shirland Lane, Sheffield S9 3SP UK
tel : +44 (0) 114 22 11 650 - fax : +44 (0) 114 22 11 651
e-mail : rudienos@compuserve.com
e-mail : rudi@specialstructures.com


ขอต้อนรับสู่ Rudi Enos Deign home page ที่นี่จะนำเสนองานออกแบบในระยะเวลา ๒๐ ปีที่แล้วมา เป็นไปไม่ได้ที่จะกล่าวอ้างถึง บุคคล บริษัท และองค์กรที่มีส่วนร่วมและเกี่ยวข้องในผลงานเหล่านี้ได้ครบถ้วน ถ้าต้องการทราบ ก็สามารถติดต่อทาง e-mail ที่ปรากฏอยู่ได้
"ใน Zanadu จักรพรรดิ์ Kubla Khan โปรดการสร้างโดมเป็นที่สุด "

ข้าพเจ้าและเพื่อนร่วมงาน ได้สร้างโครงสร้างช่วงกว้างตลอดเวลา เราหวังว่าจะเพิ่มขนาด และความสวยงามของอาคารและสามารถในการเคลื่อนย้ายได้สะดวก

เราทั้งหมดได้ร่วมดำเนินการและเสนอโครงสร้างเคลื่อนที่ได้ และออกแบบโครงสร้างแผ่นผืนด้วยความปิติยิ่ง สำหรับทุกท่านที่ให้งานเหล่านี้แก่เรา ขอท่านจงรับไมตรีจิตและมีส่วนร่วมในปิตินี้ด้วยความสำนึกในพระคุณอย่างยิ่ง

ข้าพเจ้าต้องขอขอบคุณเป็นพิเศษสำหรับ Bruno, Stuart และ Laurant, ผู้ที่ทำให้โครงการเหล่านีเป็นสิ่งที่น่าชื่นชมยินดี


" ความสมบูรณ์ในที่สุดก็ได้มา ก็ต่อเมื่อเมื่อไม่มีอะไรต้องเพิ่มหรือตัดออกไปได้อีกแล้ว "
Antoine de St. Exupery

เดี๋ยวนี้เวทมนต์ได้สูญสิ้นแล้ว....................
โครงสร้างเคลื่อนที่ และโครงสร้างพิเศษแผ่นผืนได้กลายเป็นกระแสทางวิศวกรรม ที่เชี่ยวกรากมาเมื่อสองสามปีที่แล้ว แต่เดิมที่เป็นเพียงงานศิลปในเงามืด เดี๋ยวนี้กลายเป็นจริงจับต้องได้แล้ว กลายเป็นความชื่นชมยินดีที่เข้ามาแทนที่ ในทางตรงข้าม การให้ที่เห็นได้ชัดแจ้งคือ อิสระภาพที่จะสร้างสรรศิลป์และยอมรับความท้าทาย ที่เคยขยาดกลัวมาก่อน
เป็นความท้าทายของสถาปนิกหนุ่มทั้งหลาย นักออกแบบ วิศวกร ที่มีอิสระในความคิดฝัน ใช้เครื่องมือให้เกิดประโยชน์ในทางความคิดสร้างสรรอย่างเสรี ใของงาน ศิลปะ วิศวกรรม สถาปัตยกรรม และกวี ในแบบฉบับใหม่

" ไม่มีกฏเกณฑ์ทางสถาปัตยกรรมสำหรับปราสาทในกลุ่มเมฆ "
G.K. Chesterton
link to  :Quotes


Staffordshire Wharf

The Kayam

Tensile 1

18 metre stage roof

Hoover Building

The Moonburst

Honda Awning

'Walt Disney on Ice'  Big Top
Rudi Enos Design Home

Luis Barragan

 


..about Luis Barragan
1980 Laureate
Luis Barragan มีอายุอยู่ระหว่างปี ค.ศ. 1902-1988  เกิดที่เมือง Guadalajara ประเทศเม็กซิโก มีพื้นฐานการศึกษา ทางวิศวกรรม แต่สนใจสถาปัตยกรรม โดยการศึกษาด้วยตนเอง  ในราวปี ค.ศ. 1920's เดินทางไปทั่วประเทศ ฝรั่งเศส และ สเปน ในปี ค.ศ. 1931  ได้อาศัยอยู่ในเมือง ปารีส ชั่วระยะหนึ่ง ขณะนั้น ได้มีโอกาศฟังการบรรยาย สถาปัตยกรรม จาก Le Corbusier การเดินทางของเขา ต่อเนื่องถึงประเทศ มอร็อกโค จนถึงปี ค.ศ. 1951 จากนั้น ย้ายกลับมาพำนัก ที่เมือง เม็กซิโก จนกระทั่งเสียชีวิต เขาเริ่มปฏิบัติ วิชาชีพสถาปัตยกรรม ที่บ้านเกิดเมือง Guadalajara ตั้งแต่ปี ค.ศ. 1927-1936  การเดินทาง ไปศึกษาในที่ต่างๆ ทำให้เกิดความสนใจ ในสถาปัตยกรรม ท้องถิ่นของ North Africa และ Mediterranean ซึ่งสัมพันธ์กับสถาปัตยกรรมใน ประเทศของของเขา และมีอิทธิพล ทางความคิดในเวลาต่อมา
ผลงานของเขาเป็นที่กล่าวขานถึง ความมักน้อย สันโดษ แต่เต็มไปด้วยสีสรร และเน้นสีธรรมชาติและผิววัสดุ เน้น แผ่นผืนที่ตรงไปตรงมา ของกำแพงก่ออิฐผิวปูนป้าย การอวดผิวไม้ ใช้น้ำเป็นองค์ประกอบ รวมเป็นผลงานของ สถาปัตยกรรม ที่มีสัมพันธ์กับธรรมชาติอย่างชัดเจน
Barragan ชอบเรียกตัวเอง เป็นภูมิสถาปนิก จากสิ่งตีพิมพ์ของ St. Martins Press เขาอ้างไว้ว่า สถาปนิกควรสนใจ การออกแบบสวน ให้มีความสำคัญ และมีคุณประโยชน์ มากเท่า การออกแบบบ้านที่สร้าง โดยพัฒนาความงาม และรสนิยม เข้าด้วยกัน เป็นดั่งงานประนีตศิลป์ที่ทรงคุณค่า นอกเหนือไปจากนั้น เขายังกล่าวว่า งานสถาปัตยกรรม ที่ไม่สะท้อน ความสงบ (serenity) ถือเป็นงานออกแบบที่ล้มเหลว
Barragan ถือเป็นนักบวชผู้หนึ่ง ผลงานของเขาถูกพรรณาว่ามี ความลึกลับ และ ความสงบ ผลงานออกแบบโบถส์  Capuchinas Sacramentarias สะท้อนคุณสมบัติทั้งสองนี้ เพราะเขาสนใจ ม้า เขาออกแบบคอกม้า น้ำพุ และบ่อน้ำ กลมกลืน รวมกันสะท้อน คุณภาพเป็นเช่นเดียวกันหมด
Barragan ยังเป็นสถาปนิกที่มีอิทธิพลต่อสถาปนิกแม็กซิกัน และสถาปนิกทั่วโลกรุ่นหลัง อย่างน้อยสามชั่วอายุคน
ในโอกาศที่เขารับรางวัล the Pritzker Architecture Prize เขาได้กล่าวไว้ว่า "มันเป็นไปไม่ได้ที่จะเข้าใจ ศิลป์ และความรุ่งเรืองของ ประวัติศาสตร์ โดยปราศจาก การรับรู้ถึงจิตวิญญาน อันเป็นแก่นสาร แห่งศาสนา ซึ่งเป็น สิ่งนำเราไปสู่ ความเข้าใจทั้งมวลของปรากฏการณ์ แห่งศิลป์ที่เกิดขึ้น ถ้าปราศจากอันหนึ่งอันใดในสามสิ่งนี้แล้ว จะไม่มี ปิระมิดของอียิปต์ และจะไม่มีโบราณสถานอันเก่าแก่ (Ziggurett) ของแม็กซิโก แล้วสถาปัตยกรรมของ กรีก และโกธิค จะเกิดขึ้นได้อย่างไร?"
นอกจากนี้เขายัง ตั้งขอสังเกตุว่า สื่อและสิ่งพิมพ์ ที่เกี่ยวข้องกับสถาปัตยกรรม มักละเลยคุณค่า ของคำต่อไปนี้ คือ "Beauty (ความงาม), Inspiration (ความบรรดาลใจ), Magic (ความวิเศษ), Spellbound (มนตร์คาถา), Enchantment (ความมีเสน่ห์) หรือแม้แต่คำ Serenity (ความสงบ), Silence (ความเหงียบ), Intimacy (ความคุ้นเคย) and Amazement (ความฉงนสนเท่ห์)" แม้เขายอมรับว่า การกระทำของเขาก็ ยังไม่บรรลุผลนัก แต่เขาก็ไม่เคยละเลย ที่จะตระหนัก ถึงสิ่งเหล่านี้อยู่เสมอ ตอนท้ายของปฐกถาในโอกาสพิเศษนี้ เขาได้ระบุถึง ศิลปของการมอง เป็นเรื่องสำคัญที่ สถาปนิก ควรรู้ว่า การมองนั้น ควรมองให้ไกลเกิน จากการรับรู้ที่เกิดจาก การวิเคราะห์ในแง่ของเหตุผล อยู่เสมอ
คุณค่าของงานสถาปัตยกรรมของ Luis Barragan
(ส่วนหนึ่งจากปาฐกถาตอบรับการรับรางวัล the Pritzker Architecture Prize 1980)

Beauty. เป็นคำยาก ที่นักปรัชชญา จะระบุความหมายได้ชัดเจน และยังอาจพูดได้ว่า เป็นสิ่งเร้นลับที่เกิดขึ้น Beauty จึงถีอเป็นสิ่งที่สวรรค์บรรดาลให้ อาจเกิดได้กับ รอยสัก กำไลเปลือกหอย ที่สาวๆชื่นชอบ หรือ แม้แต่เครื่องใช้ ในครัวเรือน  ทั้งนี้รวมถึง สิ่งก่อสร้าง เช่น โบถส์ วิหาร และ พระราชวัง หรือสิ่งประดิษฐ์ทางอุตสาหกรรม สมัยใหม่ ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ชีวิตมนุษย์จะไร้คุณค่าหากปราศจากสิ่งนี้
Silence. ในสวน และบ้าน ที่ข้าพเจ้าออกแบบ ข้าพเจ้าจะพยายามย่างยิ่งยวด เพื่อให้เกิดบรรยากาศ ของความเหงียบ และจะออกแบบให้ น้ำพุเป็นเสมือนสิ่งร้องหาความเหงียบสงบนั้น
Solitude. ในความสันโดษ  การอยู่ลำพังของ มนุษย์ จะทำให้ค้นพบตัวเองได้ดี ความสันโดษเป็นสิ่งที่ต้องมีอยู่ และเกี่ยวข้องเสมอ กับงานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า ไม่ควรเป็นสิ่งที่ ใครจะหวาดกลัว หรือหลีกหนีมัน
Serenity. คือความแจ่มใสของท้องฟ้า ความราบรื่นของทะเล ความเย็นอารมณ์ และความสงบของจิตใจ Serenity เป็นสิ่งยิ่งใหญ่ที่จะขจัดความกลัวในปัจจุบัน  เป็นหน้าที่ของสถาปนิกโดยตรง ที่จะต้องสร้างสิ่งนี้ให้ถาวร ให้เกิดขึ้นได้ใน บ้าน หรืออาคารที่เขาออกแบบ  ทั้งอย่างโจ่งแจ้ง หรืออย่างแอบแฝงก็ตาม ข้าพเจ้าเป็นผู้หนึ่ง ที่พยายามต่อสู้ให้เกิดสิ่งนี้อยู่เสมอ และเราต้องคอยดูแล รักษามันไว้ ไม่ให้ถูกทำลายไป แม้จะโดยการ รู้เท่าไม่ถึงการณ ์ ก็ตามที
Joy. ใครเลยจะละเลยความปิติร่าเริงนี้ ข้าพเจ้าเชื่อว่า งานศิลปะที่สมบูรณ์ ต้องประกอบด้วยคุณค่าของ ความสงัด ความปิติ และความสงบ
Death. ที่สุดของชีวิต คือความตาย การสิ้นสุดที่ไม่อาจหลีกเลี่ยงได้ ด้วยคุณค่าของงานศิลปะ อันเป็นส่วนหนึ่ง ของศาสนาเท่านั้น ที่จะมีชัยชนะเหนือความตายได้
Gardens. ในการออกแบบสวน สถาปนิกจะต้องสร้างสรรให้เป็นส่วนหนึ่ง ของอาณาจักรแห่งธรรมชาติให้ได้ สวนที่สวยงาม จะต้องแสดงอำนาจของธรรมชาติ เพราะธรรมชาติจะเป็นสิ่ง ที่ลดความก้าวร้าวของมนุษย์ ในชีวิตปัจจุบันได้ดีที่สุด
Fountains. น้ำพุเป็นสิ่งที่นำเราไปสู่ความสันติ ความปิติร่าเริง และความสุนทรีย์ ให้เกิดจินตนาการ เชื่อมความฝันและความเป็นจริงของโลกใบนี้ได้
Architecture. งานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า คือชีวประวัติของตัวข้าพเจ้าเอง สะท้อนเรื่องราวในอดีตที่อยู่ ในความทรงจำถึงบ้านไร่ของบิดา ที่ข้าพเจ้าเติบโตมาจากวัยเด็ก จนถึงวัยรุ่น ในงานออกแบบ ข้าพเจ้าพยายาม ถ่ายทอด คุณค่าเหล่านั้น ให้เกิดความเหมาะสม กับชีวิตสมัยใหม่ในปัจจุบัน โดยมีกลิ่นไอของอดีตข้าพเจ้าที่ผ่านมา บทเรียนที่ประสบมาจากสถาปัตยกรรม ในชนบท บ้านนอก ของประเทศข้าพเจ้า ที่สร้างแรงบรรดาลใจถาวร กับข้าพเจ้า เช่น ความประทับใจที่เกิดจาก กำแพงป้ายปูนสีขาว ความสงบสันติ ที่เกิดขึ้นที่ ระเบียงมีหลังคา ท่ามกลางสวนผลไม้ ถนนที่มีสีสรรสวยงาม อันเกิดจากบ้านเรือนสองข้าง ที่สร้างร่มเงาให้กับถนน และความ ประทับใจ ลึกลงไปถึงการเรียนรู้ ที่ได้รับจากการเชื่อมต่อของประวัติศาสตร์ ของแม๊กซิโก กับหมู่บ้านใน อัฟริกาเหนือ และโมร๊อกโค ทั้งสองแหล่งนี้ ช่วยเสริมคุณค่าการรับรู้ และเข้าใจ ในความงาม และความเรียบง่าย ใน งานสถาปัตยกรรมของข้าพเจ้า
The Art of Seeing. เป็นสิ่งที่สำคัญ ทีสถาปนิกต้องรู้จักการดูที่ถูกต้อง หมายถึงการดู ที่เกินเลย ไปจากเหตุผล ของการรับรู้ในสิ่งที่ดู ซึ่งข้าพเจ้าได้เรียนรู้สิ่งนี้ จากการแนะนำของเพื่อนจิตกรชาวแม็กซิกัน ชื่อ Jesus (Chucho) Reyes Ferreira  และกวีอีกผู้หนึ่งคือ Carlos Pellicer ที่พรรณาเกี่ยวกับการเห็น ดังนี้ คือ Through sight the good and the bad ...we do perceive  (but) Unseeing eyes .....Souls deprived of hope.
Nostalgia. การคิดถึงบ้าน เป็นความทรงจำของบุคคลในอดีตแห่งตน ศิลปินมักใช้อดีตของตน เป็นแรงบรรดาลใจ ในการสร้าสรรงาน สถาปนิกก็ควรฟัง และนำความระลึกถึงอดีตของตัวเอง หวลกลับมาปรุงแต่ง ใช้ใหม่ให้เหมาะสม 

  http://www.mexconnect.com/mex_/feature/barragan1.html THE HOUSES OF LUIS BARRAGAN From the book "CASA MEXICANA" (C)1989 Tim Street-Porter, published by Stewart, Tabori & Chang, New York.  Casa Gilardi by Luis Barragan:Photograph by Tim Street-Porter -..ที่ตั้งบันไดในลักษณะปติมากรรมมีช่องแสงธรรมชาติด้านบน